กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7070
ชื่อเรื่อง: | พฤติกรรมการซื้อปุ๋ยอินทรีย์ของชาวสวนยางพาราในจังหวัดชุมพร |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Purchasing behaviiorof organic fertilizers of rubber farmers in Chumporn Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ยุทธนา ธรรมเจริญ มารีนา มาหมื่น, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา ศิริชัย พงษ์วิชัย |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ ปุ๋ยอินทรีย์ ชาวสวนยาง--ไทย--ชุมพร เกษตรกร--ไทย--ชุมพร เกษตรกร--การตัดสินใจ |
วันที่เผยแพร่: | 2555 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) พฤติกรรมการซื้อปุ๋ยอินทรีย์ของชาวสวนยางพาราในจังหวัดชุมพร (2) ส่วนประสมการตลาดของปุ๋ยอินทรีย์ตามความคิดเห็นของชาวสวนยางพาราในจังหวัดชุมพร และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมการตลาดกับพฤติกรรมการซื้อปุ๋ยอินทรีย์ของชาวสวนยางพาราในจังหวัดชุมพร การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากร คือ ชาวสวนยางพาราที่พักอาศัยอยู่ในพื้นที่ที่ปลูกยางพาราและซื้อปุ๋ยอินทรีย์ในจังหวัดชุมพร เลือกตัวอย่างโดยวิธีตามสะดวกในพื้นที่ที่มีการปลูกยางพารามากที่สุดในจังหวัดชุมพร 4 อันดับแรก ได้แก่ อำเภอท่าแซะ อำเภอปะทิว อำเภอสวี และอำเภอเมือง กำหนดขนาดตัวอย่างจำนวน 200 ตัวอย่าง จากการใช้ตารางของยามาเน่ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 ใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการเก็บข้อมูลและวิเคราะห์โดยอาศัยสถิติวิเคราะห์เชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติวิเคราะห์เชิงอนุมาน ได้แก่ ไคสแควร์ ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ เป็นเพศชาย อายุ 31 – 40 ปี การศึกษาระดับประถมศึกษา มีรายได้เฉลี่ยต่อเดือน 15,000-30,000 บาท และมีพื้นที่ในการปลูกยางพารา ไม่เกิน 20 ไร่ มีพฤติกรรมการซื้อปุ๋ยอินทรีย์คือซื้อปุ๋ยอินทรีย์ชีวภาพมาใช้ในสวนยางพาราของตนเองจากร้านขายปุ๋ย/ตัวแทนจำหน่ายปุ๋ยที่อยู่ใกล้สวนยางพาราซื้อปุ๋ยอินทรีย์ปีละ 2 ครั้ง ประมาณ 1– 2 ตันต่อครั้งๆ ละ ประมาณ 10,001 – 20,000 บาท โดยช่วงเวลาที่ซื้อปุ๋ยอินทรีย์มากที่สุดคือช่วงเดือนพฤษภาคม – กรกฎาคม และตัดสินใจซื้อปุ๋ยอินทรีย์ด้วยตนเองเป็นหลักส่วนสาเหตุที่ซื้อปุ๋ยอินทรีย์ก็คือปรับปรุงโครงสร้างดินช่วยไม่ให้ดินเสีย และช่วยเพิ่มผลผลิตได้ดี (2) ส่วนประสมการตลาดของปุ๋ยอินทรีย์ตามความคิดเห็นของ ชาวสวนยางพาราในจังหวัดชุมพร พบว่า ชาวสวนยางพาราในจังหวัดชุมพร ให้ความสำคัญต่อปัจจัย ด้านการจัดจำหน่ายมากที่สุด รองลงมาคือ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์และปัจจัยด้านราคา ลำดับสุดท้ายคือ ปัจจัย ด้านการส่งเสริมการตลาด และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างส่วนประสมการตลาดด้านการจัดจำหน่ายมี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการซื้อปุ๋ยอินทรีย์ของชาวสวนยางพาราในจังหวัดชุมพร ที่ระดับนัยสำคัญ 0.05 |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7070 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
144237.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.36 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License