Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7074
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorอิทธิเดช จันโททัย, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอรนุช ใดงาม, 2522--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-07-03T02:29:34Z-
dc.date.available2023-07-03T02:29:34Z-
dc.date.issued2556-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7074-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (2) ศึกษาปัจจัยด้านองค์การที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นองค์กรแห่ง การเรียนรู้จำแนกตามประเภทของบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (4) เสนอแนะ แนวทางสร้างเสริมการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประเภทสายวิชาการ จำนวน 915 คน และ สายสนับสนุน จำนวน 720 คน จำนวนทั้งสิ้น 1,635 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 310 คน จากตารางเครซีและมอร์แกน สุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนและแบบง่าย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการวิจัย สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ และ การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ อยู่ในระดับ มาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ความคิดเชิงระบบ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำ ที่สุด ได้แก่ ด้านความรอบรู้แห่งตน (2) ปัจจัยด้านองค์กรที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ พบว่า ด้านกลยุทธ์ องค์กร ด้านโครงสร้างองค์กร ด้านภาวะผู้นำ และด้านวัฒนธรรมองค์กร ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05โดยร่วมกันพยากรณ์การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ร้อยละ 48.6 (3) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จำแนกตามประเภทของบุคลากร พบว่า ประเภทของบุคลากรที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (4) ข้อเสนอแนะที่สำคัญได้แก่ บุคลากรทุกสายงานควรมี ส่วนร่วมในการจัดทำกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน จัดบุคลากรให้ เหมาะสมตามโครงสร้างการบริหารผู้นำควรมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ชัดเจน โปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อ เสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ควรสร้างความสัมพันธ์ให้พนักงานทุกหน่วยงาน รู้สึกถึงความสำคัญของวัฒนธรรม องค์กรที่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างหน่วยงาน จัดให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรภายใน ที่เป็นเวทีใหญ่ ควรมีการประเมินตนเองและให้เพื่อนร่วมงานประเมินพฤติกรรมที่แสดงออกถึงแบบแผนความคิดอ่าน และนำมาปรับปรุงตนเอง ส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กร สนับสนุนให้มี การทำงานเป็นทีม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน บุคลากรต้องคิดให้ทันสถานการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลกth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2013.344en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ -- การบริหารth_TH
dc.subjectการบริหารองค์การth_TH
dc.titleปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting the state of being learning organization of King Mongkut' s University of Technology North Bangkokth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe purposes of this research were to: (1) investigate the state level of being learning organization of King Mongkut’s University of Technology North Bangkok; (2) study the organizational factors affecting the state of being learning organization of King Mongkut’s University of Technology North Bangkok; (3) compare the staff opinions on state of being learning organization of King Mongkut’s University of Technology North Bangkok classified by their functional groups, and (4) suggest some guidelines to enhance the state of being learning organization of King Mongkut’s University of Technology North Bangkok. Population included 915 academic staff and 720 academic supporting staff, totally 1,635, from which samples of 310 were obtained using Krejcie and Morgan table. Proportional and simple random sampling method were applied. Instrument used was questionnaire. Statistical tools employed were frequency, percentage, mean, standard deviation, multiple regression, and t-test. The results revealed that: (1) the state of being learning organization of ... was at high level with the highest mean on systematic thinking while the lowest mean was on personal mastery; (2) organizational factors which were organizational strategies, organizational structure, leadership, and organizational culture affected the state of being learning organization at 0.05 level of statistical significance, all factors could predict the state of being learning organization at 48.6 percent; (3) when compared the opinions, difference was found between opinions of academic staff and academic supporting staff at 0.05 level of statistical significance; (4) major suggestions included: every group of staff should participate in arranging strategic plan of the organization to create idea sharing environment, appropriate personnel should be assigned according to administrative structure; leaders should have clear vision, be transparent, perform with ethics and good governance, so to foster learning atmosphere; relationship among university staff should be enhanced, staff should be aware of the importance of knowledge sharing among working units while knowledge sharing activities among staff should be encouraged; there should be self appraisal with feedback provision from others so to foster self improvement, staff should be provided with opportunities to participate in determining organizational vision; working as team to support learning organization should be encouraged; and all personnel should always catch up with the changing world and be ready to change accordinglyen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
144240.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.15 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons