กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7074
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the state of being learning organization of King Mongkut' s University of Technology North Bangkok
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปภาวดี มนตรีวัต, อาจารย์ที่ปรึกษา
อิทธิเดช จันโททัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรนุช ใดงาม, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ -- การบริหาร
การบริหารองค์การ
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับของการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัย เทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (2) ศึกษาปัจจัยด้านองค์การที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของ มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (3) เปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นองค์กรแห่ง การเรียนรู้จำแนกตามประเภทของบุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ (4) เสนอแนะ แนวทางสร้างเสริมการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ ได้แก่ บุคลากรของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้าพระนครเหนือ ประเภทสายวิชาการ จำนวน 915 คน และ สายสนับสนุน จำนวน 720 คน จำนวนทั้งสิ้น 1,635 คน ได้กลุ่มตัวอย่าง จำนวน 310 คน จากตารางเครซีและมอร์แกน สุ่มตัวอย่างตามสัดส่วนและแบบง่าย โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือ ในการวิจัย สถิติที่ใช้คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ และ การทดสอบค่าที ผลการวิจัยพบว่า (1) การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ อยู่ในระดับ มาก โดยด้านที่มีค่าเฉลี่ยสูงสุด ได้แก่ ความคิดเชิงระบบ และด้านที่มีค่าเฉลี่ยต่ำ ที่สุด ได้แก่ ด้านความรอบรู้แห่งตน (2) ปัจจัยด้านองค์กรที่ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ พบว่า ด้านกลยุทธ์ องค์กร ด้านโครงสร้างองค์กร ด้านภาวะผู้นำ และด้านวัฒนธรรมองค์กร ส่งผลต่อการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05โดยร่วมกันพยากรณ์การเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้ได้ร้อยละ 48.6 (3) ผลการเปรียบเทียบความคิดเห็นเกี่ยวกับการเป็นองค์กรแห่งการเรียนรู้จำแนกตามประเภทของบุคลากร พบว่า ประเภทของบุคลากรที่แตกต่างกัน มีความคิดเห็นต่อองค์กรแห่งการเรียนรู้ของมหาวิทยาลัยเทคโนโลยีพระจอมเกล้า พระนครเหนือ แตกต่างกันที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติ 0.05 (4) ข้อเสนอแนะที่สำคัญได้แก่ บุคลากรทุกสายงานควรมี ส่วนร่วมในการจัดทำกลยุทธ์ขององค์กรเพื่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนความคิดเห็นซึ่งกันและกัน จัดบุคลากรให้ เหมาะสมตามโครงสร้างการบริหารผู้นำควรมีวิสัยทัศน์กว้างไกล ชัดเจน โปร่งใส มีคุณธรรมและจริยธรรมเพื่อ เสริมสร้างบรรยากาศการเรียนรู้ ควรสร้างความสัมพันธ์ให้พนักงานทุกหน่วยงาน รู้สึกถึงความสำคัญของวัฒนธรรม องค์กรที่ก่อให้เกิดการแลกเปลี่ยนองค์ความรู้ระหว่างหน่วยงาน จัดให้มีกิจกรรมแลกเปลี่ยนเรียนรู้ของบุคลากรภายใน ที่เป็นเวทีใหญ่ ควรมีการประเมินตนเองและให้เพื่อนร่วมงานประเมินพฤติกรรมที่แสดงออกถึงแบบแผนความคิดอ่าน และนำมาปรับปรุงตนเอง ส่งเสริมให้บุคลากรทุกคนมีส่วนร่วมในการกำหนดวิสัยทัศน์ขององค์กร สนับสนุนให้มี การทำงานเป็นทีม เพื่อให้เกิดการเรียนรู้ร่วมกัน บุคลากรต้องคิดให้ทันสถานการณ์ ทันต่อการเปลี่ยนแปลงของโลก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7074
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
144240.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.15 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons