กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7077
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิผลของเครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานต่อพฤติกรรมการซื้อปุ๋ยเคมีของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดอุทัยธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effectiveness of integrated marketing Communication tools on Fertilizer Purchasing Behavior of Members of Cooperatives in Uthaithani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลัดดา วัจนะสาริกากุล, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนุชา ภูริพันธุ์ภิญโญ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วัฒนา สมัครเกษตรการ, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด -- วิทยานิพนธ์
ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ -- การจัดซื้อ
ปุ๋ยวิทยาศาสตร์ -- ไทย -- การตลาด
การสื่อสารทางการตลาด
วันที่เผยแพร่: 2556
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) การใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานต่อพฤติกรรมการซื้อปุ๋ยเคมีของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร (2) ความสัมพันธ์ระหว่างการตระหนักรู้กับทัศนติที่สมาชิกสหกรณ์การเกษตรมีต่อการใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสาน (3) ความสัมพันธ์ระหว่าง การตระหนักรู้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรที่มีต่อการใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานของปุ๋ยเคมีกับพฤติกรรมการซื้อปุ๋ยเคมีของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร (4) ความสัมพันธ์ระหว่างทัศนคติของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรที่มีต่อการใช้เครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานสำหรับปุ๋ยเคมี กับพฤติกรรมการซื้อปุ๋ยเคมีของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร ประชากรในการวิจัย คือ สมาชิกสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดอุทัยธานี จำนวน 59,461 คน ได้กำหนดขนาดตัวอย่างจากการคำนวณสูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวนกลุ่มตัวอย่าง 400 คน และแบ่งกลุ่มตัวอย่างแต่ละสหกรณ์ตามอัตราส่วนของจำนวนสมาชิกสหกรณ์การเกษตรในจังหวัดอุทัยธานี สุ่มตัวอย่างจากสมาชิกสหกรณ์การเกษตรตามจำนวนที่ได้จากการคำนวนโดยใช้วิธีการสุ่มอย่างง่าย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ 0.8778 วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์ ผลการวิจัยพบว่า (1) การโฆษณาสามารถสร้างการตระหนักรู้ มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อปุ๋ยเคมีของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร การใช้พนักงานขายสามารถสร้างความตระหนักรู้ มีผลต่อทัศนคติของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร และการส่งเสริมการขายเป็นเครื่องมือการสื่อสารการตลาดที่มีผลต่อทัศนคติของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร (2) การตระหนักรู้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับทัศนคติที่มีต่อเครื่องมือการสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานของปุ๋ยเคมี โดยมีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ 0.650 (3) การตระหนักรู้ของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับพฤติกรรมการซื้อปุ๋ยเคมีของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร โดยมีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ 0.519 (4) ทัศนคติของสมาชิกสหกรณ์การเกษตรที่มีต่อเครื่องมือ การสื่อสารการตลาดแบบผสมผสานมีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกันกับพฤติกรรมการซื้อปุ๋ยเคมีของสมาชิกสหกรณ์การเกษตร โดยมีค่าความสัมพันธ์เท่ากับ 0.647
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7077
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
144613.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.11 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons