Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7087
Title: | ปัจจัยที่ส่งผลต่อคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ : กรณีศึกษา บริษัทฟูจิตสึ ประเทศไทย จำกัด |
Other Titles: | Factors affecting with quality of working life of direct operator case study : Fujitsu Thailand Company Limited |
Authors: | ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์ นภดล ธรรมเดชศักดิ์, 2513- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ คุณภาพชีวิตการทำงาน ความพอใจในการทำงาน |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการของบริษัท ฟูจิตสึ ประเทศไทย จำกัด (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับระดับคุณภาพชีวิตของพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทฟูจิตสึ ประเทศไทย จำกัด (3)เพื่อเปรียบเทียบระดับคุณภาพชีวิตการทำงานของพนักงานระดับปฏิบัติการ บริษัทฟูจิตสึ ประทศไทย จำกัดในแต่ละหน่วยงาน วิธีการวิจัยทำโดยการหาขนาดกลุ่มตัวอยางที่เหมาะสมจากสูตรของยามาเน กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทฟูจิตสึ ประเทศไทย จำกัดจำนวน 224 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยคือแบบสอบถามชนิดมาตราส่วนประมาณที่ผู้ศึกษาสร้างขึ้น สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน ค่า F-test ผลการวิจัยสรุปได้ว่าพนักงานระดับปฏิบัติการบริษัทฟูจิตสึ ประเทศไทย จำกัดมีระดับคุณภาพชีวิตการทำงานโดยรวมอยู่ในระดับปานกลางซึ่งสอดคล้องกับสมมุติฐานที่ตั้งไว้ เมื่อพิจารณาตามรายด้าน พบว่าด้านที่มีระดับคุณภาพชีวิตการทำงานสูงที่สุดได้แก่ ด้านการพัฒนาความสามารถของบุคคล มีค่าอยู่ในระดับค่อนข้างสูง ส่วนด้านอื่นๆ ที่เหลือสามารถเรียงลำดับระดับคุณภาพชีวิตจากมากไปหาน้อยคือ ด้านประชาธิปไตยในองค์กร ด้านสิ่งแวดล้อมที่ปลอดภัยและ ส่งเสริมสุขภาพ ด้านบูรณาการทางสังคม ด้านการเกี่ยวข้องสัมพันธ์กับสังคม ด้านความก้าวหน้า และความมั่นคงในงาน ด้านความสมดุลระหว่างชีวิตงานและชีวิตด้านอื่นและด้านค่าตอบแทนที่ยุติธรรมและเพียงพอ ตามลำดับ พนักงานระดับปฏิบัติการที่มีปัจจัยส่วนบุคคลแตกต่างกันด้านอายุ สถานภาพ ระดับการศึกษา ระดับรายได้และระยะเวลาในการปฏิบัติงาน มีระดับคุณภาพชีวิตการ ทำงานที่ไม่แตกต่างกัน ส่วนด้านหน่วยงานสังกัด จากผลการวิจัยพบว่าพนักงานที่มีหน่วยงานสังกัดแตกต่างกันจะมีระดับคุณภาพชีวิตที่แตกต่างกันแบบมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7087 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
112537.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.99 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License