กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7090
ชื่อเรื่อง: พฤติกรรมการใช้บริการระบบเติมเงินของผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบดิจิตอลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Consumer behavior in using the services moble phone with prepaid system in Suratthani
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
นพมาศ สังครุธ, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: โทรศัพท์เคลื่อนที่--พฤติกรรมผู้บริโภค--ไทย--สุราษฎร์ธานี
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2550
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตลุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาปัจจัยการตลาดต่อการตัดสินใจเลือกใช้บริการโทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบดิจิตอลแบบเติมเงินในจังหวัดสุราษฎร์ธานี (2) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ของพฤติกรรมการใช้บริการระบบเติมเงินของผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบดิจิตอลในจังหวัดสุราษฎร์ธานีกับปัจจัยส่วนบุคคล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้เป็นตัวแทนของประชากรที่ทำการศึกษา ประชากรในการวิจัยครั้งนี้ หมายถึง ผู้ใช้บริการระบบเติมเงินของผู้ใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบดิจิตอลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี จำนวน 400 ราย ที่ได้มาโดยการสุ่มแบบเป็นระบบเครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูล โดยใช้เครื่องมือทางสถิติ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน และการใช้ทดสอบ ไคสแคว โดยใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป SPSS ผลการวิจัยพบว่า (1) กลุ่มตัวอย่างที่สุ่มมาได้นั้นส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง ที่มีอายุน้อย กว่า 21 ปี มีการศึกษาระดับมัธยมศึกษา/ปวช ซึ่งเป็นนักศึกษา และมีรายรับเฉลี่ยต่อเดือน 5,000 - 10,000 บาท เคยใช้โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบดิจิตอลแบบเดิมเงินมาแล้ว มากกว่า 3ปี ส่วนมาก ใช้ระบบเอไอเอสรองลงมาเป็น ทรูมูฟ และ ดีเทค การเติมเงินโดยเฉลี่ยต่อครั้งน้อยกว่า200 บาทต่อ เดือน ซึ่งจะทำการเติมเงินเฉลี่ย 2 ครั้งต่อเดือน และ 1 ครั้งต่อเดือน โดยใช้บัตรเติมเงินเติมเงินด้วยตนเอง จะใช้โทรศัพท์ช่วงเวลา ใน 18.01 -24.00 น. บ่อยที่สุด ส่วนใหญ่ใช้เวลาโทรเฉลี่ยน้อยกว่า 10 นาที จะโทรติดต่อกับครอบครัวมากที่สุด ในการรับข้อมูลข่าวสารเกี่ยวกับโทรศัพท์เคลื่อนที่ ระบบดิจิตอลแบบเดิมเงินทางโทรทัศน์มากที่สุด (2)กลุ่มตัวอย่างให้ความสำคัญกับระบบเครือข่ายโทรศัพท์ที่มีความชัดเจนและครอบคลุมได้ทุกพื้นที่ และขั้นตอนในการเติมเงินควรมีขั้นตอนไม่ ยุ่งยาก สามารถเติมเงินได้ง่าย สะดวก และรวดเร็ว (3) ลักษณะส่วนบุคคลด้านต่างๆ มี ความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการใช้บริการระบบเติมเงินของผู้ใช้ โทรศัพท์เคลื่อนที่ระบบดิจิตอลในจังหวัดสุราษฎร์ธานี
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7090
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
112607.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.87 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons