Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7114
Title: | ความพึงพอใจของนักศึกษาในการบริการด้านระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ |
Other Titles: | Satisfaction of students on information technology systems service of Maejo University |
Authors: | ปภาวดี มนตรีวัต สุเทพ นันทะชมภู, 2501- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี มหาวิทยาลัยแม่โจ้--นักศึกษา เทคโนโลยีสารสนเทศ--ความพอใจของผู้ใช้บริการ การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาพฤติกรรมของนักศึกษาในการใช้บริการด้านระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (2) ศึกษาความคิดเห็นเกี่ยวกับความพึงพอใจของนักศึกษาต่อการให้บริการด้านระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ (3) ศึกษาความคิดเห็นของนักศึกษาเกี่ยวกับปัญหาและแนวทางการปรับปรุงการให้บริการด้านระบบสารสนเทศของมหาวิทยาลัยเม่โจ้ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยเป็นนักศึกษาระดับปริญญาตรี ทุกหลักสูตร ทุกสาขาวิชา ทุกคณะของมหาวิทยาลัยแม่โจ้ ศึกษาเฉพาะนักศึกษาชั้นปีที่ 1 ปีการศึกษา 2550 ที่พักในหอพักของมหาวิทยาลัย จำนวน 342 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และค่าร้อยละ ผลการวิจัยพบว่า 1) นักศึกษาใช้บริการห้องบริการสารสนเทศเดือนละมากกว่า 15 ครั้ง ระยะเวลาที่เข้าใช้บริการครั้งละ 1-2 ชั่วโมง ใช้บริการที่อาคารเรียนรวม 70 ปี แม่โจ้ (ชั้น1) มากที่สุด วัตถุประสงค์การใช้บริการเพื่อศึกษาค้นคว้าหาความรู้มากที่สุดส่วนมากไม่ใช้บริการ E-mail Address ของมหาวิทยาลัย เนื่องจากใช้บริการจากที่อื่นแล้ว ส่วนมากไม่ใช้บริการระบบเครือข่ายผ่านคู่สายโทรศัพท์ และระบบเครือข่ายไร้สายของมหาวิทยาลัย ใช้บริการระบบเครือข่าย และอินเทอร์เน็ตผ่านระบบไร้สายที่อาคารเรียนรวม 70 ปีแม่โจ้ (ชั้น1) มากที่สุด 2) นักศึกษามีความพึงพอใจในบริการ 5 ด้าน คือ ด้านขั้นตอนทั่วไป ระเบียบกฎเกณฑ์และข้อบังคับ การปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ การให้ความรู้ข่าวสารระบบสารสนเทศ และด้านอุปกรณ์ สถานที่และสภาพแวดล้อม ในระดับปานกลาง มีเพียงหัวข้อเดียวที่พึงพอใจระดับมาก คือความเหมาะสมของสถานที่ที่มีแสงสว่างเพียงพอและจัดรูปแบบสวยงาม แต่ภาพรวมแล้วอยู่ระดับปานกลาง 3) สำหรับปัญหาที่นักศึกษาต้องการให้ปรับปรุงพัฒนาโดยเฉพาะความพึงพอใจในอันดับท้าย ๆ อาทิ ขั้นตอนการให้บริการยังล่าช้า ไม่ชัดเจน การจัดเก็บค่าใช้จ่ายยังไม่ชัดเจน ความเสมอภาคในการบริการ การเผยแพร่ ประชาสัมพันธ์ความรู้ข่าวสาร ยังไม่ชัดเจนและทั่วถึง สถานที่และอุปกรณ์ที่ให้บริการ ยังมีไม่เพียงพอต่อการให้บริการ จึงเห็นควรให้มหาวิทยาลัยดำเนินการปรับปรุงและพัฒนาต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7114 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_113517.pdf | 3.79 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License