กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7140
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารงานของสำนักงานเกษตร จังหวัดเพชรบูรณ์
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Efficiency and effectiveness of Agricultural Extension Office in Phetchabun Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ดุสิต เวชกิจ
ปรางทิพย์ บุญกล่ำ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์
คำสำคัญ: ประสิทธิผลองค์การ
ประสิทธิภาพ--การประเมิน
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อศึกษา (1) ระดับประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารงานของสำนักงานเกษตร (2) ถึงปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิภาพและประสิทธิผลของการบริหารงานของสำนักงานเกษตร (3) จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส และอุปสรรคที่เกี่ยวข้องกับประสิทธิภาพและประสิทธิผลในการบริหารงานของสำนักงานเกษตร และ เสนอกลยุทธ์การพัฒนาการบริหารงานของสำนักงานการศึกษาวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรในการศึกษา คือ สำนักงานเกษตรจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 1 แห่ง และสำนักงานเกษตรอำเภอ ในจังหวัดเพชรบูรณ์ จำนวน 11 แห่ง รวมสำนักงานเกษตร จำนวน 12 แห่ง ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 130 คน เกษตรกร จำนวน 114,947 ราย โดยมีกลุ่มตัวอย่าง จำนวน 11 แห่ง ประกอบด้วย เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน จำนวน 98 คน เกษตรกร จำนวน 399 ราย เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรมสำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วน เบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุ โดยวิธีขั้นตอน ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับประสิทธิภาพและประสิทธิผลการบริหารงานของสำนักงานเกษตรในพื้นที่ จังหวัดเพชรบูรณ์ อยู่ในระดับมากกว่า ร้อยละ 70 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ.05 (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อ ประสิทธิภาพการบริหารงานของสำนักงานเกษตรในพื้นที่จังหวัด เพชรบูรณ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ณ ระดับ .05 ได้แก่ ปัจจัยการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐ ปัจจัยแรงจูงใจ และปัจจัยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ส่วนปัจจัยที่มี อิทธิพลต่อประสิทธิผลการบริหารงานของสำนักงานเกษตร ในพื้นที่จังหวัดเพชรบูรณ์ อย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติ ณ ระดับ 05 ได้แก่ ปัจจัยการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และปัจจัยการให้บริการสาธารณะ (3) จุดแข็ง คือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานมี ความกระตือรือร้น จริงใจ ซื่อสัตย์ เป็นธรรมในการให้บริการและมีการติดตามการให้บริการอย่างต่อเนื่อง จุดอ่อน คือ ผู้บริหารไม่ให้ความสำคัญในการสร้างแรงจูงใจการทำงาน ขาดความสามัคคีในหมู่คณะ โอกาสในการพัฒนาการ บริหารงาน คือ หน่วยงานภาคีที่เกี่ยวข้องให้ความร่วมมือในการทำงานในส่วนที่เกี่ยวข้องด้วยความเต็มใจ อุปสรรคในการ บริหารงาน คือ เจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงานไม่เพียงพอ กับภารกิจจำนวนมากของหน่วยงาน ขาดงบประมาณและวัสดุ อุปกรณ์ ขาดการบูรณาการการทำงานภายในหน่วยงาน นโยบายไม่ชัดเจน จากการวิจัยครั้งนี้ มีข้อเสนอแนะในการพัฒนาการบริหารงานเพื่อให้เกิดประสิทธิภาพและประสิทธิผลของ สำนักงานเกษตร คือ ควรเน้นการนำการพัฒนาคุณภาพการบริหารจัดการภาครัฐและนำหลักการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี มาเป็นกรอบในการบริหารงาน รวมทั้งผู้บริหารต้องตระหนักและให้ความสำคัญกับเจ้าหน้าที่ผู้ปฏิบัติงาน โดยการสร้างแรงจูงใจ
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7140
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
114877.pdfเอกสารฉบับเต็ม15.82 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons