Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7150
Title: กลยุทธ์ทางการตลาดของลานเทโตนยางปาล์มอำเภอคีรีรัฐนิคมจังหวัดสุราษฏร์ธานี
Other Titles: Marketing strategy of Tonyang Palm wholesale market in Khiri Rat Nikhom District, Surat Thani Province / Marketing strategy of Tonyang Palm wholesale market in Khiri Rat Nikhom District, Surat Thani Province
Authors: ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร
อรธิณี ศรัทธาสุข, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
ลานเทโตนยางปาล์มอำเภอคีรีรัฐนิคม--การตลาด
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2552
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การศึกษาคันคว้าอิสระเรื่อง กลยุทธ์ทางการตลาดของลานเทโตนยางปาล์ม อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฏร์ธานี ในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์สภาพการแข่งขันและระดับกลยุทธ์ของลานเทโตนยางปาล์ม อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัคสุราษฏร์ธานี (2) การดำเนินกลยุทธ์ด้านการตลาดเป้าหมายและส่วนประสมทางการตลาด การศึกษาค้นคว้าอิสระครั้งนี้ เป็นการศึกษาเชิงพรรณนา ตามกรอบแนวคิดทางการศึกษา ซึ่งประกอบไปด้วย การวิเคราะห์สภาพแวดล้อมทางการแข่งขันและระดับกลยุทธ์ในอุตสาหกรรม การดำเนินกลยุทธ์การตลาดเป้าหมายและส่วนประสมทางการตลาด ของลานเทโตนยางปาล์ม อำเภอคีรีรัฐนิคม จังหวัดสุราษฎร์ธานี ผลการศึกษาพบว่า 1) สภาพแวดล้อมทางการแข่งขันในอุตสาหกรรมที่สำคัญคือ คู่แข่งขันรายใหม่ต้องพบกับแรงกคดันเนื่องจากการประหยัดต่อขนาดของคู่แข่งรายเก่า ความรุนแรงของการแข่งขันภายในตลาดมีมากแม้จะมีคู่แข่งขันน้อยรายแต่ต่างก็ตั้งอยู่ใกล้วัตถุดิบ ส่วนอำนาจการต่อรองของผู้ซื้อหรือโรงงานขึ้นอยู่กับกลไกทางด้านราคาและปริมาณวัตถุดิบในตลาด อำนาจการต่อรองของผู้ขายวัตถุดิบหรือเกษตรกรมีน้อยเนื่องจากผลผลิตที่มีปริมาณมาก จุดแข็งและจุดอ่อนของลานเทโตนยางปาล์ม มีจุดแข็งคืออยู่ในตลาดมาเป็นเวลานานจึงมีความเชี่ยวชาญและมีประสบการณ์สูง จุดอ่อนคือกิจการไม่สามารถคัดทะลายปาล์มด้อยคุณภาพคืนให้แก่เกษตรกร ได้โอกาสคือ เกษตรกรหันมาปลูกปาล์มน้ำมันเป็นจำนวนมากและรัฐบาลมีนโยบายส่งเสริมไบไอดีเซล อุปสรรคคือ ปาล์มน้ำมันจากประเทศมาเลเซียมีราคาถูกจึงมีการนำเข้าเพิ่มขึ้น กลยุทธ์ที่ใช้ในระดับธุรกิจ ได้แก่ กลยุทธ์การสร้างความเชี่ยวชาญ การสร้างพันธมิตร และการสร้างความแตกต่างทางด้านบริการ ส่วนกลยุทธ์ระดับหน้าที่เน้นด้านราคาเพื่อสร้างความได้เปรียบทางการแข่งขัน 2) การตลาดเป้าหมายมุ่งให้บริการแก่เกษตรกรที่อยู่ในรัศมี 15 กิโลเมตรจากลานเล กลยุทธ์ส่วนประสมทางการตลาดให้ความสำคัญกับการรักษาคุณภาพให้ได้ตามมาตรฐานที่ โรงงานกำหนด การบริการที่ครบวงจร ระดับราคาที่สูงกว่าคู่แข่ง เน้นความสัมพันธ์กับลูกค้า
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7150
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_119807.pdf3.1 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons