กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7156
ชื่อเรื่อง: กลยุทธ์การตลาดของธุรกิจที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Detached housing project marketing strategy in Bangkok metropolitan area and suburban
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสาวภา มีถาวรกุล
โกสิต ทองสงฆ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: บ้านจัดสรร--การตลาด--ไทย--กรุงเทพฯ
ที่อยู่อาศัย--การตลาด--ไทย--กรุงเทพฯ
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2546
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: ความสำคัญของปัญหา จากผลพวงของวิกฤตเศรษฐกิจในช่วง พ.ศ. 2540-2545 ที่ผ่านมา ทำให้ตลาดอสังหาริมทรัพย์ซบเซาเป็นอย่างมาก แต่ขณะนี้เศรษฐกิจเริ่มมีแนวโน้มทิศทางที่ดีขึ้น ทำให้ผู้มีรายได้ปานกลางจนถึงรายได้สูงยังมีความต้องการที่อยู่อาศัยซึ่งเป็นปัจจัยหลักในการดำรงชีวิตอยู่จำนวนมาก ดังนั้นบ้านเดี่ยวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลจึงเป็นตลาดที่มีความสำคัญเป็นอย่างมากในภาวะช่วงนี้ และอีก 3-4 ปีข้างหน้า ผู้วิจัยจึงได้มีความสนใจทำการวิจัยเรื่องกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจที่อยู่อาศัยในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงกลยุทธ์การตลาดของธุรกิจที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (2) เปรียบเทียบถึงลักษณะการใช้กลยุทธ์การตลาดของธุรกิจที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล (3) ศึกษาถึงปัญหาและอุปสรรคของการบริหารโครงการของที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล วิธีดำเนินการวิจัยครั้งนี้ศึกษากับกลุ่มตัวอย่างที่เป็นผู้ประกอบธุรกิจที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑล จำนวน 80 โครงการ เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์แบ่งเป็น 3 ตอน คือ (1) เป็นแบบสัมภาษณ์กี่ยวกับสถานภาพของผู้ประกอบธุรกิจ (2)เป็นแบบสัมภาษณ์กี่ยวกับการใช้กลยุทธ์การตลาดในการบริหารโครงการ (3) เป็นแบบสัมภาษณ์เกี่ยวกับปัญหาและอุปสรรคในการบริหารโครงการ ทำการวิเคราะห์ข้อมูลด้วยโปรแกรม SPSS โดยใช้สถิติร้อยละ (X) ค่าความเบี่ยงเบนมาตรฐาน (S.D.) ผลการวิจัยการใช้กลยุทธ์การตลาดของธุรกิจที่อยู่อาศัยประเภทบ้านเดี่ยวในเขตกรุงเทพมหานครและปริมณฑลพบว่า ผู้ประกอบธุรกิจส่วนใหญ่ใช้กลยุทธ์ด้านราคาในเกณฑ์ตํ่าสุด (X = 3.6125) ด้านผลิตภัณฑ์ อยู่ใน เกณฑ์ตํ่า (x=3.7304) ด้านการส่งเสริมการตลาดอยู่ในเกณฑ์สูง (X = 3.7562) ด้านทำเลและสถานที่ตั้งโครงการอยู่ ในเกณฑ์สูงสุด (X=3.7968) ส่วนปัญหาอุปสรรคในการบริหารโครงการ ผู้ประกอบธุรกิจ ส่วนใหญ่ประสบปัญหาด้านการขายตํ่าสุด (X=2.8678) ด้านการผลิตปานกลาง (X=3.0354) ด้านการบริหารจัดการทั่วไปสูงสุด (X =3.2906)
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7156
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_82057.pdfเอกสารฉบับเต็ม844.36 kBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons