กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7164
ชื่อเรื่อง: | ความคิดเห็นของพนักงานต่อการเปลี่ยนสายผลิตภัณฑ์ : กรณีศึกษาบริษัทไดสตาร์ อิเลคทริก คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เฉพาะโรงงานระยอง |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Employee's opinion on changing of product line : a case study of Distar Electric Corporation Public Co., Ltd. (Royong Plant) |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | ณรงค์ศักดิ์ บุญเลิศ ขนิษฐา กุศลารักษ์, 2514- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
คำสำคัญ: | บริษัทไดสตาร์ อิเลคทริก คอร์เปอเรชั่น--พนักงาน--ทัศนคติ บริษัทไดสตาร์ อิเลคทริก คอร์เปอเรชั่น--การบริหารงานบุคคล การจัดการองค์การ การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
วันที่เผยแพร่: | 2550 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความคิดเห็นของพนักงานต่อการเปลี่ยนสายผลิตภัณฑ์ (2) ศึกษาปัญหาและข้อเสนอแนะที่อาจเป็นประโยชน์ในการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ของบริษัท ไดสตาร์ อิเลคทริก คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เฉพาะโรงงานระยอง กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาในครั้งนี้ได้แก่ พนักงานบริษัท ไดสตาร์ อิเลคทริก คอร์เปอเรชั่น จำกัด (มหาชน) เฉพาะโรงงานระยอง ซึ่งประกอบด้วย 8 ส่วนงาน รวมทั้งสิ้น 107 คน เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูล คือ แบบสอบถาม ที่มีค่าความเชื่อมั่นเท่ากับ .9052 และ ประมวลผลข้อมูลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ โดยสถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบแบบที (t-test) การทดสอบแบบเอฟ (F-test) และค่าสัมประสิทธ์ไคสแควร์ (%2) ผลการศึกษาพบว่า (1) พนักงานมีระดับความคิดเห็นต่อการเปลี่ยนสายผลิตภัณฑ์อยู่ที่ ระดับปานกลาง และปัจจัยส่วนบุคคลมีความสัมพันธ์กับระดับความคิดเห็นของพนักงานอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 เพียง 2 ปัจจัย คือ ปัจจัยตำแหน่งงานและปัจจัยหน่วยงานที่สังกัด (2) พนักงานเห็นว่าควรมีการปรับปรูงสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน รวมถึงปรับปรุง สวัสดิการในด้านต่างๆ เพื่อเป็นขวัญและกำลังใจในการปฏิบัติงานให้ดียิ่งขึ้นไป ปัญหาที่พบในด้านสภาพแวดล้อมและความปลอดภัยในการทำงาน คือ บริเวณสายการผลิตมีระดับเสียงดัง มีฝุ่นควัน หรือละออง และมีกลิ่นที่อาจเป็นอันตรายและรบกวนการปฏิบัติงาน ตลอดจนบริษัทฯ ไม่มีการเตรียมความพร้อมต่ออุบัติเหตุที่อาจเกิดขึ้นโดยไม่ได้คาดการณ์ล่วงหน้า |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7164 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Independent study |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext_112647.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 2.68 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License