กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7166
ชื่อเรื่อง: การใช้หลักธรรมาภิบาลที่ส่งผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Good governance affecting to the operational achievement of Nakhon Ratchasima Provincial Aministration Organization's Personnel
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เฉลิมพงศ์ มีสมนัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ไตรรัตน์ โภคพลากรณ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
นันทวัน อินทชาติ, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
ธรรมรัฐ
ประสิทธิผลองค์การ
ความสำเร็จทางธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1. การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติงาน 2. ความสำเร็จในการปฏิบัติงาน 3. การนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ปฏิบัติงานที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานและ 4. ตัวแปรหลักธรรมาภิบาลที่สามารถทำนายความสำเร็จในการปฏิบัติงานของบุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา กลุ่มตัวอย่างที่ศึกษาคือ บุคลากรขององค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา จำนวน 300 คน สุ่มตัวอย่างแบบง่าย เครื่องมือการวิจัยคือ แบบสอบถามแบบมาตราส่วนประมาณค่า 5 ระดับ สถิติที่ใช้ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สหสัมพันธ์แบบเพียร์สัน และการถดถอยพหุแบบขั้นตอน ผลการวิจัยพบว่า 1. บุคลากรในองค์การบริหารส่วนจังหวัดนครราชสีมา มีการนำหลักธรรมาภิบาลมาใช้ในการปฏิบัติงานอยู่ในระดับมาก โดยอันดับ 1 คือ หลักนิติธรรม อันดับ 2 คือหลักคุณธรรม และอันดับที่ 3 คือหลักความรับผิดชอบ 2. สำหรับความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนาของบุคลากร อบจ. นครราชสีมา ภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยอันดับที่ 1 คือยุทธศาสตร์ในการบริหารจัดการอย่างมีคุณภาพและประสิทธิภาพ อันดับ 2 คือยุทธศาสตร์ในการพัฒนาสังคมและการแก้ไขปัญหาความเดือดร้อน อันดับ 3 คือยุทธศาสตร์ในการพัฒนาศักยภาพการท่องเที่ยว 3. ตัวแปรที่มีผลต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงานตามแผนยุทธศาสตร์การพัฒนา ได้แก่ หลักการมีส่วนร่วม และหลักความคุ้มค่าที่ส่งผลทางบวก ในขณะที่หลักความรับผิดชอบ ส่งผลทางลบต่อความสำเร็จในการปฏิบัติงาน และตัวแปรหลักการมีส่วนร่วม หลักความคุ้มค่าและหลักความรับผิดชอบ สามารถร่วมกันทานายความสำเร็จในการปฏิบัติงานได้ร้อยละ 30.2 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7166
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
148727.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.91 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons