Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/716
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorกมลชัย รัตนสกาววงศ์th_TH
dc.contributor.authorสยาม ยิ่งทวีหยก, 2515-th_TH
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2022-08-18T03:25:47Z-
dc.date.available2022-08-18T03:25:47Z-
dc.date.issued2555-
dc.identifier.urihttp://ir.stou.ac.th/handle/123456789/716en_US
dc.descriptionวิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2555th_TH
dc.description.abstractการวิจัย เรื่อง การเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งภายหลังการยุบพรรค มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1 ) ศึกษาแนวคิดและหลักกฎหมายเกี่ยวกับการยุบพรรคการเมืองและการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง (2) ศึกษาปัญหาการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งของหัวหน้าพรรคการเมืองและกรรมการบริหารพรรคการเมือง ตามมาตรา 237 วรรคสอง ของ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 และ (3) ศึกษาแนวทางการแก้ไขปรับปรุง รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 มาตรา 237 วรรคสอง ในการวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยทางกฎหมายโดยการวิจัยเชิงคุณภาพด้วยการวิจัยเอกสาร จากตัวบทกฎหมาย ตำรา บทความทางวิชาการ คำวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญ และเอกสารอื่นที่เกี่ยวข้อง ผลการวิจัย พบว่า การกำหนดสภาพบังคับ โดยการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้ง กรรมการบริหารพรรคการเมืองทุกคนภายหลังการยุบพรรค ตามมาตรา 237 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยพุทธศักราช 2550 มีความไม่เหมาะสม กล่าวคือ การกระทำผิดฝ่าฝืนกฎหมายเลือกตั้งของบุคคลใดควรเป็นความรับผิดเฉพาะบุคคล การกำหนดโทษให้บุคคลอื่น ซึ่งมีสถานะเป็นกรรมการบริหารพรรค ต้องถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งโดยที่บุคคลนั้นไม่ได้มีส่วนร่วม รู้เห็น ในการกระทำผิด จึงเป็นการจำกัดสิทธิของบุคคลในการเลือกตั้ง ซึ่งขัดกับหลักการประชาธิปไตย หลักนิติรัฐ และแนวคิดความรับผิดของบุคคล ทั้งนี้เนื่องจากบทบัญญัติดังกล่าว มีที่มาจากประกาศคณะปฏิรูปการปกครองในระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์เป็นประมุข ฉบับที่ 27 ซึ่ งเป็นผลพวงมาจากการทำรัฐประหารโดยมีวัตถุประสงค์เพื่อล้างบางและสลายขั้ว อำนาจเก่าของรัฐบาลในขณะนั้น ข้อเสนอแนะต่อปัญหาการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรค คือ ให้ยกเลิกบทบัญญัติในการเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งหัวหน้าพรรค กรรมการบริหารพรรคตามมาตรา 237 วรรคสองของรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothen_US
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2012.39en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectพรรคการเมืองth_TH
dc.subjectการยุบพรรคการเมืองth_TH
dc.titleการเพิกถอนสิทธิการเลือกตั้งภายหลังการยุบพรรคth_TH
dc.title.alternativeDisfranchisement after dissolution of political partiesen_US
dc.typeThesisen_US
dc.identifier.DOI10.14457/STOU.the.2012.39en_US
dc.degree.nameนิติศาสตรมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชานิติศาสตร์th_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe Research on Disfranchisement After Dissolution of Political Parties was aimed to (1) study the concept and principles of law relating to the dissolution of the political parties and the related disfranchisement, (2) study the problem of disfranchisement of the leader and executives of political parties under article 237, paragraph two, of the Constitution. Kingdom of Thailand B.E. 2550, and (3) to study ways to improve Constitution of the Kingdom of Thailand, BE 2550, Section237, paragraph two. The legal qualitative approach is analyzed for this study with the methodology of documentary research by provisions of law, text books, academic papers, decisions of the Constitutional Court and other related documents.The results showed that the imposition disfranchisement of every executive of political parties after the dissolution of such political parties under article 237, paragraph two, of the Constitution of the Kingdom of Thailand, B.E. 2550 is not reasonable, that is, any offender who violates the election law should be a liable individually. The sanction to other person who is merely an executive of such political parties and has no part in the crime is deemed to restrict the rights of individuals in the general election. This is contrary to democratic principles and the rule of law, as well as the principle of penal liability of the person. The background of such provisions is based on the Notification of the Committee to Reform Democracy with the King as Head of State, No. 27, which was the aftermath of the coup d'etat, with the objective to wipe out and break the power of the previous government at that time. Recommendation is that disfranchisement of the leader and executives of political parties under article 237, paragraph two, of the Constitution. Kingdom of Thailand B.E.2550 should be repealed.en_US
dc.contributor.coadvisorสิริพันธ์ พลรบth_TH
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib137717.pdfเอกสารฉบับ้ต็ม13.62 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons