Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7172
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสุรพร เสี้ยนสลาย, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorทิพวรรณ ชัยสาครสมุทร, 2525--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-07-04T02:27:31Z-
dc.date.available2023-07-04T02:27:31Z-
dc.date.issued2557-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7172-
dc.description.abstractการวิจัยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จังหวัดปทุมธานีนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ประเมินความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จังหวัดปทุมธานี (2) ศึกษาความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมืองจำแนกตามอำเภอในจังหวัดปทุมธานี (3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จงัหวัดปทุมธานี (4) เสนอแนะแนวทางการพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จังหวัดปทุมธานี โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 238 คน จากประชากรทั้งหมด 584 คน และสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 399 คน จากประชากรทั้งหมด 69,271 คน โดยใช้วิธีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที, การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการ วิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัย พบว่า (1) ความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอยู่ในระดับมากกว่าร้อยละ 80 แสดงให้ เห็นว่ากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในจังหวัดปทุมธานี สามารถบริหารงานได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ (2) ความสำเร็จของ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในแต่ละอำเภออยู่ในระดับที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยพบว่าอำเภอ คลองหลวง มีระดับความสำเร็จสูงที่สุด (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในจังหวัด ปทุมธานี โดยมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยด้านการนานโยบายไปปฏิบัติ ปัจจัยด้านการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และปัจจัยด้านการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (4) แนวทางการพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จังหวัดปทุมธานี แบ่งออกเป็ น 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ คณะกรรมการและสมาชิกควรทำความเข้าใจใน วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของกองทุนให้ชัดเจน ตรงกัน ส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนทั้งในเรื่องของความรู้ งบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้สมาชิกรับทราบอย่างทั่วถึง สม่ำเสมอ และ ชัดเจน ให้ความสำคัญกับการจัดหาบุคลากรหรือคณะกรรมการที่มีความรู้ความสามารถให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และ สร้างจิตสำนึกในการเป็นเจ้าของกองทุนร่วมกัน มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกองทุนอย่างต่อเนื่อง 2) ด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ควรมีการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายของกองทุนอย่างสม่ำเสมอ ติดตามการใช้เงินกู้ให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ให้ความสำคัญกับปัญหาของกองทุน ตระหนัก และรับผิดชอบต่อ บทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ให้ชัดเจน ง่ายต่อการตรวจสอบ ส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วม ในการเสนอความคิดเห็น และมีส่วนในการตัดสินใจเกี่ยวกับการกาหนดกฎระเบียบและหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการบริหารจัดการ กองทุนให้มากขึ้น สนับสนุนให้สมาชิกหมุนเวียนเข้ามาเป็นคณะกรรมการกองทุน สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมทั้งการเรียนรู้ คิดร่วมกัน ทำร่วมกัน ติดตามตรวจสอบร่วมกันและรับผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นธรรม 3) ด้านการบริหารแบบมุ่งผล สัมฤทธิ์ คณะกรรมการและสมาชิก ควรร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ของกองทุนให้ชัดเจน จัดสรรจำนวนบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ ต่างๆ ให้เพียงพอ ต่อการปฏิบัติงาน ส่งเสริมให้มีการจัดทำคู่มือกฎระเบียบ และหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการดำเนินงานอย่างเป็น ระบบ และมีขั้นตอนอย่างชัดเจนth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2014.183en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectโครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองth_TH
dc.subjectกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง -- ไทย -- ปทุมธานีth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดปทุมธานีth_TH
dc.title.alternativeFactors influencing the success of village and urban community fund in Pathum Thani Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe research on factors influencing the success of village and urban community fund in Pathum Thani Province was aimed at (1) evaluating the success of village and urban community fund in Pathum Thani Province (2) studying the success of village and urban community classifies by district of Pathum Thani Province (3) studying factors influencing the success of village and urban community fund in Pathum Thani Province and (4) recommending appraoches for the development of village and urban community fund in Pathum Thani Province. The research was a survey research. Population was 584 committees of village and urban community and 69,271 members of village and urban community fund in Pathum Thani Province. Samples were 238 committees and 399 members of the committee of village and urban community fund respectively. The sample size was determined by Taro Yamane’s calculation formula. The questionnaire was used as a research tool. Statistics applied in hypothesis testing included t-test, ANOVA and multiple regression analysis. The results of this research were (1) The success of village and urban community fund was at the level above 80% reflecting that the management of village and urban community fund in Pathum Thani Province could achieve their altimate goal. (2) The success of village and urban community fund classified by district varied at statistical significance of 0.05 where those in Khlong Luang District showed highest level of effectiveness. (3) 3 Key factors influencing the success of village and urban community fund in Pathum Thani Province at statistical significance of 0.05 were found namely, policy implementation, good governance and results based management. (4) Approaches for the development of village and urban community fund in Pathum Thani Province were divided into 3 aspects based on those 3 key factors: 1) for policy implementation, the committees and members should have common understanding on objectives or goals of the fund. Provision knowledge, necessary budget, material and equipment should be provided to the relevant authorities. Members were adequately and thoroughly provided with information and updates on regular basis. Priority should be given to recruitment of qualified personnel or committee who would take part in the administration of the fund and to the establishment of common value on entrepreneurship. There should have forum for sharing information regularly. 2) for good governance, it was recommended to examine operational results on regularly basis as opposed to the fund’s objectives or goals and also to monitor the effectiveness of loan use according to the objective. Committee and member should prioritize to problems encountered by the fund and realize the significance of their assigned roles and responsibilities. Income and expenses shall be recorded in clearly manner and easily for examination. Members should be encouraged to express their opinions, take part in decision making process about formulating rules and regulations for the fund administration. Members should be allowed to become the committee on rotating basis. There should be established the process that requires participation in learning, planning, monitoring and receiving fair returns. 3) for the results based management, the committee and member should mutually determine the fund’s objectives, adequate allocation of personnel and resources for operation, facilitate the provision of manual and code of practice in systemized manner and with clear proceduresen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
148980.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.55 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons