กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7172
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองจังหวัดปทุมธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors influencing the success of village and urban community fund in Pathum Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรพร เสี้ยนสลาย, อาจารย์ที่ปรึกษา
ทิพวรรณ ชัยสาครสมุทร, 2525-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
โครงการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง -- ไทย -- ปทุมธานี
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จังหวัดปทุมธานีนี้ มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ประเมินความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จังหวัดปทุมธานี (2) ศึกษาความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านและ ชุมชนเมืองจำแนกตามอำเภอในจังหวัดปทุมธานี (3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จงัหวัดปทุมธานี (4) เสนอแนะแนวทางการพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จังหวัดปทุมธานี โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 238 คน จากประชากรทั้งหมด 584 คน และสมาชิกกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 399 คน จากประชากรทั้งหมด 69,271 คน โดยใช้วิธีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที, การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการ วิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัย พบว่า (1) ความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองอยู่ในระดับมากกว่าร้อยละ 80 แสดงให้ เห็นว่ากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในจังหวัดปทุมธานี สามารถบริหารงานได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ (2) ความสำเร็จของ กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในแต่ละอำเภออยู่ในระดับที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยพบว่าอำเภอ คลองหลวง มีระดับความสำเร็จสูงที่สุด (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองในจังหวัด ปทุมธานี โดยมีความสัมพันธ์อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยด้านการนานโยบายไปปฏิบัติ ปัจจัยด้านการ บริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี และปัจจัยด้านการบริหารแบบมุ่งผลสัมฤทธิ์ (4) แนวทางการพัฒนากองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง จังหวัดปทุมธานี แบ่งออกเป็ น 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการนำนโยบายไปปฏิบัติ คณะกรรมการและสมาชิกควรทำความเข้าใจใน วัตถุประสงค์หรือเป้าหมายของกองทุนให้ชัดเจน ตรงกัน ส่งเสริมให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องให้การสนับสนุนทั้งในเรื่องของความรู้ งบประมาณ และวัสดุอุปกรณ์ต่างๆ ที่จำเป็น มีการประชาสัมพันธ์ข้อมูลข่าวสารต่างๆ ให้สมาชิกรับทราบอย่างทั่วถึง สม่ำเสมอ และ ชัดเจน ให้ความสำคัญกับการจัดหาบุคลากรหรือคณะกรรมการที่มีความรู้ความสามารถให้เข้ามามีส่วนร่วมในการบริหารจัดการ และ สร้างจิตสำนึกในการเป็นเจ้าของกองทุนร่วมกัน มีการจัดเวทีแลกเปลี่ยนเรียนรู้ระหว่างกองทุนอย่างต่อเนื่อง 2) ด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี ควรมีการตรวจสอบผลการปฏิบัติงานให้เป็นไปตามวัตถุประสงค์ หรือเป้าหมายของกองทุนอย่างสม่ำเสมอ ติดตามการใช้เงินกู้ให้เกิดประโยชน์ตามวัตถุประสงค์ ให้ความสำคัญกับปัญหาของกองทุน ตระหนัก และรับผิดชอบต่อ บทบาทหน้าที่ที่ได้รับมอบหมาย มีการจัดทำบัญชีรายรับ-รายจ่าย ให้ชัดเจน ง่ายต่อการตรวจสอบ ส่งเสริมให้สมาชิกมีส่วนร่วม ในการเสนอความคิดเห็น และมีส่วนในการตัดสินใจเกี่ยวกับการกาหนดกฎระเบียบและหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการบริหารจัดการ กองทุนให้มากขึ้น สนับสนุนให้สมาชิกหมุนเวียนเข้ามาเป็นคณะกรรมการกองทุน สร้างกระบวนการมีส่วนร่วมทั้งการเรียนรู้ คิดร่วมกัน ทำร่วมกัน ติดตามตรวจสอบร่วมกันและรับผลประโยชน์ร่วมกันอย่างเป็นธรรม 3) ด้านการบริหารแบบมุ่งผล สัมฤทธิ์ คณะกรรมการและสมาชิก ควรร่วมกันกำหนดวัตถุประสงค์ของกองทุนให้ชัดเจน จัดสรรจำนวนบุคลากร วัสดุอุปกรณ์ ต่างๆ ให้เพียงพอ ต่อการปฏิบัติงาน ส่งเสริมให้มีการจัดทำคู่มือกฎระเบียบ และหลักเกณฑ์ต่างๆ ในการดำเนินงานอย่างเป็น ระบบ และมีขั้นตอนอย่างชัดเจน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7172
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
148980.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.55 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons