กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7177
ชื่อเรื่อง: ประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Effectiveness of community enterprises in Pathum Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรพร เสี้ยนสลาย, อาจารย์ที่ปรึกษา
วีรชัย โมกขเวศ, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
วิสาหกิจชุมชน -- ไทย -- ปทุมธานี
วิสาหกิจชุมชน -- การบริหาร
วันที่เผยแพร่: 2557
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานีนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินประสิทธิผล ของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี (2) ศึกษาประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชนจำแนกตามอำเภอในจังหวัดปทุมธานี (3) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี (4) เสนอแนะแนวทางการพัฒนา วิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี โดยใช้วิธีวิจัยเชิงสำรวจกลุ่มตัวอย่าง ได้แก่ คณะกรรมการวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 178 คน จากประชากรทั้งหมด 321 คน และสมาชิกวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี จำนวน 361 คน จากประชากรทั้งหมด 3,675 คน โดยใช้วิธีการกำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ทดสอบสมมติฐาน ได้แก่ การทดสอบค่าที, การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอย เชิงพหุ ผลการวิจัย พบว่า (1) ประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี อยู่ในระดับมากกว่าร้อยละ 80 แสดงให้เห็นว่าวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี สามารถบริหารงานได้บรรลุวัตถุประสงค์ที่ตั้งไว้ (2) ประสิทธิผลของ วิสาหกิจชุมชนในแต่ละอำเภออยู่ในระดับที่แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยพบว่าอำเภอลำลูกกา มี ระดับประสิทธิผลสูงที่สุด (3) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลของวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี ได้แก่ ปัจจัยด้าน การตลาด และปัจจัยด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี (4) แนวทางการพัฒนาวิสาหกิจชุมชนในจังหวัดปทุมธานี แบ่ง ออกเป็น 2 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านการตลาด ควรเพิ่มความหลากหลายและควบคุมคุณภาพของสินค้าให้มีมาตรฐานมากยิ่งขึ้น มี การกำหนดราคาขายของสินค้าให้เป็นมาตรฐานเดียวกัน มีการประเมินผลการจัดจำหน่ายสินค้าในแต่ละช่องทาง และควร จะมีการเพิ่มช่องทางการตลาด ควรจะมีการให้ข่าวประชาสัมพันธ์มากขึ้น และมีการจัดทำส่วนลด หรืออาจจะมีการรับ สมัครสมาชิกเพื่อรับสิทธิพิเศษต่างๆ เพิ่มมากขึ้น 2) ด้านการบริหารกิจการบ้านเมืองที่ดี วิสาหกิจชุมชนควรมีการ ตรวจสอบผลการปฏิบัติงานอย่างสม่ำ เสมอ ควรมีการพัฒนาหลักสูตรเพื่ออบรมเชิงปฏิบัติการแก่คณะกรรมการและ สมาชิกให้มีความรู้และความเข้าใจ ในการบริหารจัดการวิสาหกิจชุมชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ คณะกรรมการและสมาชิก ควรที่จะให้ความสำคัญกับปัญหาของวิสาหกิจชุมชน ตระหนักในบทบาทหน้าที่ และตั้งอกตั้งใจทำงานให้ประสบ ผลสำเร็จ ในการตัดสินใจและการดำเนินการต่างๆ ควรอยู่บนกฎระเบียบที่ชัดเจน สามารถตรวจสอบได้ เปิดโอกาสให้ สมาชิกเข้ามามีบทบาทในการเสนอความคิดเห็น ตัดสินใจ ควบคุม ตรวจสอบ ในกระบวนการดำเนินงานของวิสาหกิจ ชุมชนร่วมกัน มีกฎระเบียบ กติกาที่สามารถยืดหยุ่นได้ตามสถานการณ์ และมีการระบุการลงโทษไว้อย่างชัดเจน มีความ เสมอภาค และเป็นธรรมต่อทุกฝ่าย
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7177
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
148981.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.26 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons