Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7178
Title: ทัศนคติที่มีต่อยาสมุนไพรของผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานคร
Other Titles: Attitude toward herbal consumers in Bangkok Metropolis / Attitude toward herbal consumers in Bangkok Metropolis
Authors: ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร, อาจารย์ที่ปรึกษา
อุไรวรรณ์ อัศวภูมิ, 2517-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
ยาสมุนไพร
ผู้บริโภค--ทัศนคติ
Issue Date: 2550
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาทัศนคติผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อยาสมุนไพรไทยในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย แถะด้านการส่งเสริมการตลาด (2)เพื่อเปรียบเทียบทัศนติผู้บริโภคในเขตกรุงเทพมหานครที่มีต่อยาสมุนไพรไทยในด้านผลิตภัณฑ์ ด้านราคา ด้านการจัดจำหน่าย และด้านการส่งเสริมการตลาด จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพการสมรส อาชีพ ระดับรายได้ต่อเดือน และประวัติการเจ็บป่วย (3) เพื่อรวบรวมข้อเสนอแนะและความคิดเห็นในการบริโภค และซื้อยาสมุนไพรไทยเพิ่มเติมจากผู้บริโภคกลุ่มตัวอย่างเป็นประชากรในเขตกรุงเทพมหานคร ที่เคยซื้อและเคยใช้ยาสมุนไพรไทย จำนวน 400 คน เครื่องมือในการวิจัยใช้แบบสอบถาม การวิเคราะห์ข้อมูลใช้สถิติ ได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉถี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติทดสอบความเชื่อถือได้ ใช้ค่าสัมประสิทธิ์ของแอลฟ่า ของ Cronbach ผลการวิจัยครั้งนี้พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์ ผู้บริโภคมีทัศนคติในระดับที่ดี ด้านราคาผู้บริโภคมีทัศนคติในด้านนี้ทั้งรายด้านแถะภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการจัดจำหน่าย ผู้บริโภคมีทัศนคติโดยรวมอยู่ในระดับปานกลาง ด้านการส่งเสริมการตลาด ผู้บริโภคมีทัศนคติภาพรวมอยู่ในระดับปานกลาง เมื่อทำการเปรียบเทียบ พบว่าผู้บริโภคที่มีอายุต่างกันมีทัศนคติต่อยาสมุนไพรไม่แตกต่างกัน ผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาต่ำกว่าปริญญาตรี มีทัศนคติต่อยาสมุนไพรในด้านราคาแตกต่างจากผู้บริโภคที่มีระดับการศึกษาปริญญาตรีอย่างมีนัยสำคัญ ทัศนคติของผู้บริโภคที่มีต่อยาสมุนไพรโดยรวมและรายด้าน จำแนกตามสถานภาพการสมรสและอาชีพไม่แตกต่างกันผู้บริโภคที่เคยเจ็บป่วยและไม่เคยเจ็บป่วยด้วยโรคเดียวกันเป็นระยะเวลาติดต่อกันเกิน 2 สัปดาห์ มีทัศนคติต่อยาสมุนไพรไทย ด้านผลิตภัณฑ์ ด้านการส่งเสริมการตลาด และโดยรวมแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ แตะข้อเสนอแนะเพิ่มเติมของผู้บริโภคส่วนใหญ่มีความเห็นว่ายาสมุนไพรไทยควรได้รับการพัฒนาในทุกด้าน พร้อมทั้ง ควร ได้รับการส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการใช้มากขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7178
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_121960.pdf4.67 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons