กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7203
ชื่อเรื่อง: การจัดการทรัพยากรมนุษย์ของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดปทุมธานี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Human resource management of industrial factories in Pathum Thani Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ชนินทร์ ชุณหพันธรักษ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนชัย ยมจินดา, อาจารย์ที่ปรึกษา
พระมหาชูชัย ดวงสกาวพิสุทธิ์, 2528-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
โรงงานอุตสาหกรรม -- การบริหาร
โรงงานอุตสาหกรรม -- ไทย -- ปทุมธานี
การบริหารงานบุคคล
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยเรื่องนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับ ประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ของ โรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดปทุมธานี (2) เปรียบเทียบประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดปทุมธานี จำแนกตามลักษณะโรงงานอุตสาหกรรม (3) เสนอแนะแนวทางในการเพิ่ม ประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรมนุษย์ของโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดปทุมธานี การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ในการวิจัยคือ เจ้าของกิจการหรือผู้จัดการ โรงงานที่ประกอบกิจการประเภทโรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดปทุมธานี เป็นจำนวนทั้งสิ้น 3,460 โรงงาน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างได้จำนวน ทั้งสิ้น 359 โรงงาน ตามสูตรของทาโร่ยามาเน่ โดยใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิเครื่องมือที่ใช้ในการเก็บข้อมูลเป็นแบบสอบถามซึ่งมีค่าความเชื่อมั่น เท่ากับ 0.87 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ข้อมูล ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที และการทดสอบความแปรปรวนทาง เดียว การทดสอบแตกต่างเป็นรายคู่ด้วยวิธีผลต่างนัยสำคัญน้อยที่สุด ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรมนุษย์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้านพบว่า มีระดับประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรมนุษย์อยู่ในระดับมากทุกด้านคือ ด้านคุณภาพ ด้านค่าใช้จ่าย ด้านเวลา และด้านปริมาณ ตามลำดับ (2) โรงงานอุตสาหกรรมในจังหวัดปทุมธานี ที่มี จำนวนพนักงานแตกต่างกันมีประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรมนุษย์ไม่แตกต่างกัน ส่วนโรงงานอุตสาหกรรม ที่มีประเภทโรงงานอุตสาหกรรม ระยะเวลาดำเนินธุรกิจ และเงินทุนจดทะเบียนแตกต่างกันมีประสิทธิภาพ การจัดการทรัพยากรมนุษย์แตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 และ (3) แนวทางในการเพิ่ม ประสิทธิภาพการจัดการทรัพยากรมนุษย์คือ การจัดทำแผนกลยุทธ์และแผนปฏิบัติการด้านการจัดการทรัพยากร มนุษย์ของโรงงานอุตสาหกรรมให้สอดคล้องกับเป้าหมายของโรงงานอุตสาหกรรม ตลอดจนส่งเสริม และ สนับสนุนการดำเนินการจัดการทรัพยากรมนุษย์อย่างต่อเนื่อง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7203
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
149419.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.71 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons