กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/720
ชื่อเรื่อง: พัฒนาการความเชื่อใน "องค์จตุคามรามเทพ" ระหว่าง พ.ศ.2530-2550 : กรณีศึกษาจังหวัดนครศรีธรรมราช
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Development of belief in "Jatukam Rammathep" during 1987-2007 : a case study in Naknon Si Thammarat
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุดจิต เจนนพกาญจน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เสาวภา ไพทยวัฒน์, อาจารย์ที่ปรึกษา
อนุชา ม่วงใหญ่, อาจารย์ที่ปรึกษา
สายสุดา จิตต์รักษ์, 2498-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาศิลปศาสตร์ --วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาไทยคดีศึกษา --วิทยานิพนธ์
เครื่องรางของขลัง
ศรัทธา (พุทธศาสนา)
จตุคามรามเทพ
วันที่เผยแพร่: 2551
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: งานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพื่อ (1) ศึกษาประวัติขององค์จตุคามรามเทพ ระหว่าง พ.ศ. 2530-2550 (2) ศึกษาลักษณะความเชื่อองค์จตุคามรามเทพ (3) ศึกษาอิทธิพลขององค์จตุคามรามเทพที่มีต่อเศรษฐกิจ สังคม และ วัฒนธรรมของจังหวัดนครศรีธรรมราช ประชากรที่ใช้ในการวิจัยเชิงคุณภาพ ประกอบด้วย พระสงฆ์ จำนวน 3 รูป พราหมณ์ จำนวน 2 คน ทายาท พล.ค.ต.ชุนพันธรักษ์ราชเดช จำนวน 2 คน นักวิชาการจำนวน 3 คน พ่อค้าประชาชนจำนวน 20 คน รวม ทั้งสิ้น 30 คน เครึ่องมึอที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสัมภาษณ์ และแบบสังเกต การวิเคราะห์ข้อมูลใช้การพรรณนา วิเคราะห์ ผลการวิจัย พบว่า (1) องค์จตุคามรามเทพก่อนสรัางวัตคถุมงคลหมายถึง เทวดา เทพ กษัตริย์ และเจ้าเมึอง และเป็นวัตถุมงคลที่สร้างขึ้นเป็นครั้งแรกในปี พ.ศ. 2530 เพื่อเป็นที่ระลึกในการสร้างศาลหลักเมึองจังหวัด นครศรีธรรมราช ส่วนในช่วง พ.ศ. 2543-2550 เป็นวัตถุมงคลที่ได้รับความนิยมสูงสุด (2) ลักษณะความเชื่อที่มีต่อ องค์จตุคามรามเทพ คือ 1) เชื่อว่า องค์จตุคามรามเทพมีดวามเมตตาต่อมวลมนุษย์เป็นเทพหรือเทวดาที่คอยปกป้อง รักษาเมืองและดูแลพระบรมสารีริกธาตุ 2) เชื่อตามพุทธศาสนานิกายมหายาน ที่มีการสรัางรูปเคารพเพื่อใช้สำหรับ สักการะและอธิษฐานขอพร 3) เชื้อจากกุศโลบายของคนโบราณที่ด้องการอบรมขัดเกลาให้คนเกรงกลัวต่อบาป 4) เชื่อ ในเรื่อง ขอได้ไหวัรับ หรึอการบนบาน การอธิษฐาน 5) เชึ่อว่าผู้นับถึอจะต้องเป็นผู้ที่มีคุณธรรม และเป็นคนดี 6) เชื้อ ในพิธีกรรมอันศักดิ์สิทธิ์ทางศาสนาพราหมณ์ 7) เชื่อในสื่งศักดิ์สัทธิ์ อิทธิฤทธิ์ปาฏิหาริย์และทางไสยศาสตร์ของวัตถุ มงคล คาถาอาคม เครื่องรางของขลัง และ (3) อิทธิพลของความเชื่อองค์จตุคามรามเทพมีผลต่อเศรษฐกิจ ทำให้เกิด รายได้ เกิดอาชีพ ด้านสังคมเกิดกลุ่มสังคมใหม่ เช่น กลุ่มอาชีพปลุกเสก กลุ่มค้าขาย กลุ่มเช่าพระ ด้านครอบครัว ทำให้ครอบครัว มีความสามัคคีรักใคร่ปรองดองกัน ด้านชุมชน เกิดชุมชนเช่าพระบริเวณวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร ด้านชนชั้นเกิดการเลื่อนชั้นในสังคม ด้านสหจร ทำให้เกิดสมาคมสร้างวัตถุมงคล ด้านวัฒนธรรม สถาบันครอบครัว มีความมั่นคงเข็มฺแข็ง สมาธิในครอบครัวมีความเชื่อและศรัทธาในศาสนา สถาบันการศึกษามีการถ่ายทอดความรู้ไน เรื่องประวัติความเป็นมาขององค์จตุคามรามเทพ สถาบันศาสนา ช่วยให้สถาบันศาสนาได้รับความเชื่อถึอและศรัทธา เพิ่มขึ้น สถาบันเศรษฐกิจ ทำให้เศรษฐกิจของจังหวัดนครศรีธรรมราชดีขึ้น ประชาชนมีงานทำ มีรายได้เพิ่มขึ้น สถาบันคมนาคมขนส่ง ทำให้การคมนาคมมีการขยายตัว สรัางรายได้ให้กับองค์กรต่างๆ สถาบันวิทยาศาสดร์และ เทคโนใลยี มีการส่งเสริมเทคโนโลยีด้านการออกแบบ การหล่อพระ และการพิมพ์ให้เจริญก้าวหน้าขึ้น
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (ศศ.ม. (ไทยคดีศึกษา))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2551
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/720
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Arts-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext (3).pdfเอกสารฉบับเต็ม8.96 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons