Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7218
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorสุรพร เสี้ยนสลาย, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorอรทัย อ้นชาวนา, 2511--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-07-04T05:56:36Z-
dc.date.available2023-07-04T05:56:36Z-
dc.date.issued2558-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7218-
dc.description.abstractการวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค ์ เพื่อ (1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออม สินภาค 8 (2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลสัมฤทธิ์ต่อการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน ภาค 8 (3) ศึกษาปัญหาและ อุปสรรคในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน ภาค 8 (4) เสนอแนะแนวทางที่จะทำให้การปฏิบัติงานของ พนักงานธนาคารออมสิน ภาค 8 มีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ที่เน้นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือพนักงานธนาคารออมสิน ภาค 8 รวมจำนวนประชากร 789 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ใช้ รวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานธนาคารออมสิน ภาค 8 จำนวน 266 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และแบบสัมภาษณ์ ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดย การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้อำนวยการธนาคารออมสินภาค 8 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทาง เดียว และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ กรอบแนวคิดการวิเคราะห์เทคนิค สวอท และจำแนกข้อมูลอย่างเป็นระบบ ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน ภาค 8 มีไม่ต่ำ กว่าร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และพบว่า ระดับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของพนักงาน ธนาคารออมสิน ภาค 8 แต่ละสำนักงานมีความแตกต่างกัน (2) ปัจจัยด้านระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ ปัจจัยด้าน แรงจูงใจ ปัจจัย ด้านสมรรถนะ ปัจจัยด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกและมีอิทธิพลต่อ ผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินภาค 8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ปัญหาและ อุปสรรคในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินภาค 8 มาจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกปัจจัย ภายนอกที่ ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ได้แก่ ความเสี่ยงด้านตลาด เช่น การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ความผันผวนของ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ รวมไปถึงสถานการณ์ทางการเมือง และภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ปัจจัย ภายในที่ ส่งผลกระทบต่อการทำงานได้แก่ พนักงานขาดทักษะ ความรู้ ความชำนาญทำให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ระบบสารสนเทศไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงานผลิตภัณฑ์ไม่ตรงกับ ความต้องการของลูกค้า มีคู่แข่งขัน จำนวนมากทั้ง ทางตรงและทางอ้อม และข้อจำกัดทาง กฎ ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ ของธนาคาร (4) ข้อ เสนอแนะในการนำนโยบาย และมาตรการต่างๆ เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินภาค 8 มีผลสัมฤทธิ์ที่เพิ่มสูงขึ้น ควรให้ ความสำคัญกับการนำ ระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ หลักด้านแรงจูงใจ หลักสมรรถนะ และหลักการจัดการ เชิงกลยุทธ์ มาใช้เป็นกรอบในการบริหารการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินภาค 8th_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2015.3en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectธนาคารออมสิน ภาค 8 -- พนักงาน -- ความพอใจในการทำงานth_TH
dc.subjectพนักงานธนาคาร -- ความพอใจในการทำงานth_TH
dc.subjectการทำงานth_TH
dc.titleผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน ภาค 8th_TH
dc.title.alternativePerformance achievement of the Government Saving Bank Officer Region 8th_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research are to (1) study the performance achievement of the Government Saving Bank Officer Region 8, (2) study factors affecting the performance achievement of the Government Saving Bank Officer Region 8, (3) study problems and obstacles in the performance of the Government Saving Bank Officer Region 8, and (4) suggest ways to enhance the performance achievement of the Government Saving Bank Officer Region 8. This is a survey research emphasizes on quantitative and qualitative approach. Population is the Government Saving Bank Officer Region 8 with total of 789 persons. The research tools are questionnaires for collecting both the quantitative and qualitative data through surveying opinions of the samples who are officers of the Government Saving Bank Region 8 with total of 266 persons sampling method is stratified random sampling. Qualitative data are collected by in-depth interview of Director of the Government Saving Bank Region 8. The statistics used for the quantitative data are frequency, percentage, mean, standard deviation, and t-test and F-test by One Way ANOVA as well as stratified multiregression analysis. Qualitative data are analyzed using the SWOT analysis and the typological analysis. Results show that (1) level of the performance achievement of the Government Saving Bank Officer Region 8 is not less than 80 percent with statistical significance at 0.05, level of the performance achievement of the Government Saving Bank Officer Region 8 at each office is different, (2) the factors such as the state enterprise quality assessment system, motivations, competency, and strategic management are considered as factors having positive relationship and influence to the performance achievement of the Government Saving Bank Officer Region 8 with statistical significance at 0.05;(3) the problems of the performance of the Government Saving Bank Officer Region 8 come from the internal factors and external factor. The external factors that affected working performance is marketing risks for example the change of interest rates, the fluctuation in foreign currency exchange rates, including the political and economic situation. The internal factors that affected to working performance are the employees lack of skill, knowledge, and expertise which causes the operational delays, the information technology system is not suitable for employees, the product is not meet the customer’s demand, there are a lot of direct and indirect competitors, and the last internal factor is the restrictions on the rules and regulations of the bank; and (4) From this research, there are some suggestions on implementing the policy and different measures in order to enhance the performance achievement of the Government Saving Bank Officer Region 8 in which is, the authority concerned should prioritize the using of government enterprise quality assessment system, motivation, competency, and strategic management as framework in administration of the performance of the Government Saving Bank Officer Region 8en_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
150120.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.72 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons