กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7218
ชื่อเรื่อง: ผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน ภาค 8
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Performance achievement of the Government Saving Bank Officer Region 8
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรพร เสี้ยนสลาย, อาจารย์ที่ปรึกษา
อรทัย อ้นชาวนา, 2511-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
ธนาคารออมสิน ภาค 8 -- พนักงาน -- ความพอใจในการทำงาน
พนักงานธนาคาร -- ความพอใจในการทำงาน
การทำงาน
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค ์ เพื่อ (1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออม สินภาค 8 (2) ศึกษาปัจจัยที่ส่งผลสัมฤทธิ์ต่อการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน ภาค 8 (3) ศึกษาปัญหาและ อุปสรรคในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน ภาค 8 (4) เสนอแนะแนวทางที่จะทำให้การปฏิบัติงานของ พนักงานธนาคารออมสิน ภาค 8 มีผลสัมฤทธิ์ที่สูงขึ้น การศึกษาวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ที่เน้นการวิจัยเชิงปริมาณและการวิจัยเชิงคุณภาพ ประชากร คือพนักงานธนาคารออมสิน ภาค 8 รวมจำนวนประชากร 789 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ แบบสอบถาม ใช้ รวบรวมข้อมูลทั้งเชิงปริมาณและเชิงคุณภาพ โดยสำรวจความคิดเห็นจากกลุ่มตัวอย่างที่เป็นพนักงานธนาคารออมสิน ภาค 8 จำนวน 266 คน ด้วยวิธีการสุ่มตัวอย่างแบบชั้นภูมิ และแบบสัมภาษณ์ ใช้ในการรวบรวมข้อมูลเชิงคุณภาพโดย การสัมภาษณ์เชิงลึกผู้อำนวยการธนาคารออมสินภาค 8 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณ ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การทดสอบค่าเอฟ โดยการวิเคราะห์ความแปรปรวนทาง เดียว และการวิเคราะห์ถดถอยเชิงพหุแบบขั้นตอน การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงคุณภาพใช้วิธีการวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้ กรอบแนวคิดการวิเคราะห์เทคนิค สวอท และจำแนกข้อมูลอย่างเป็นระบบ ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสิน ภาค 8 มีไม่ต่ำ กว่าร้อยละ 80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติ ที่ระดับ .05 และพบว่า ระดับผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของพนักงาน ธนาคารออมสิน ภาค 8 แต่ละสำนักงานมีความแตกต่างกัน (2) ปัจจัยด้านระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ ปัจจัยด้าน แรงจูงใจ ปัจจัย ด้านสมรรถนะ ปัจจัยด้านการจัดการเชิงกลยุทธ์ เป็นปัจจัยที่มีความสัมพันธ์เชิงบวกและมีอิทธิพลต่อ ผลสัมฤทธิ์ในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินภาค 8 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .05 (3) ปัญหาและ อุปสรรคในการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินภาค 8 มาจากปัจจัยทั้งภายในและภายนอกปัจจัย ภายนอกที่ ส่งผลกระทบต่อการทำงาน ได้แก่ ความเสี่ยงด้านตลาด เช่น การเปลี่ยนแปลงของอัตราดอกเบี้ย ความผันผวนของ อัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศ รวมไปถึงสถานการณ์ทางการเมือง และภาวะเศรษฐกิจโดยรวม ปัจจัย ภายในที่ ส่งผลกระทบต่อการทำงานได้แก่ พนักงานขาดทักษะ ความรู้ ความชำนาญทำให้เกิดความล่าช้าในการปฏิบัติงาน ระบบสารสนเทศไม่เอื้อต่อการปฏิบัติงานผลิตภัณฑ์ไม่ตรงกับ ความต้องการของลูกค้า มีคู่แข่งขัน จำนวนมากทั้ง ทางตรงและทางอ้อม และข้อจำกัดทาง กฎ ระเบียบ คำสั่ง ข้อบังคับ ของธนาคาร (4) ข้อ เสนอแนะในการนำนโยบาย และมาตรการต่างๆ เพื่อให้ผลการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินภาค 8 มีผลสัมฤทธิ์ที่เพิ่มสูงขึ้น ควรให้ ความสำคัญกับการนำ ระบบประเมินคุณภาพรัฐวิสาหกิจ หลักด้านแรงจูงใจ หลักสมรรถนะ และหลักการจัดการ เชิงกลยุทธ์ มาใช้เป็นกรอบในการบริหารการปฏิบัติงานของพนักงานธนาคารออมสินภาค 8
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7218
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
150120.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.72 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons