กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7224
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อพฤติกรรมการใช้บริการนวดแผนไทย ในวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Marketing mix factors affecting the consumer behavior of Thai massage service in Wat Phra Chattupon Wimon Mangkhalaram Ratchaworramahawihan
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ลัดดา วัจนะสาริกากุล
สมพิศ กองอังกาบ, 2530-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
อโณทัย งามวิชัยดิจ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด--วิทยานิพนธ์
การนวด--ไทย--การตลาด
วันที่เผยแพร่: 2558
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: ในการศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) พฤติกรรมการใช้บริการนวดแผนไทย 2) ปัจจัยส่วนบุคคลที่มีผลต่อการใช้บริการนวดแผนไทย 3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการที่มีผลต่อการใช้บริการนวดแผนไทย และ 4) ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้บริการ วิธีการวิจัยเป็นการวิจัย 2 ขั้นตอน ประชากรที่ใช้ในการวิจัย ได้แก่ ผู้บริโภคที่มาใช้บริการนวดแผนไทยที่ไม่ทราบจำนวน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างด้วยวิธีคอแครน และเก็บตัวอย่างแบบสะดวก ขั้นตอนแรก เก็บข้อมูลด้วยการสัมภาษณ์จากผู้ใช้บริการ จำนวน 5 คน เพื่อใช้เป็นแนวทางในการทำแบบสอบถาม ขั้นตอนที่สองเก็บข้อมูลด้วยการแจกแบบสอบถามกับกลุ่มตัวอย่างซึ่งเป็นผู้ใช้บริการ จำนวน 400 คน หลังจากนั้นนำคำสัมภาษณ์จากขั้นตอนแรกมาวิเคราะห์เนื้อหา และแบบสอบถามจากขั้นตอนสองวิเคราะห์โดยใช้ค่าทางสถิติแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน ทดสอบค่าที ค่าเอฟ ไคว์แสควร์ และสหสัมพันธ์สเปียร์แมน ผลการวิจัย พบว่า 1) พฤติกรรมการใช้บริการนวดแผนไทยส่วนใหญ่มาใช้บริการววันเสาร์เวลาที่มาใช้ 14.31-17.00 น. ครั้งละ 2 ชั่วโมง เคยใช้บริการมาแล้ว 5 ครั้งขึ้นไป ซึ่งใช้บริการมานานน้อยกว่า 6 เดือนโดยมากับเพื่อน และเสียค่าใช้จ่ายครั้งละ 300-600 บาท 2) ปัจจัยส่วนบุคคล พบว่า อายุมีผลต่อความถี่และระยะเวลา รายได้มีผลต่อระยะเวลาและค่าใช้จ่าย และอาชีพมีผลต่อความถี่ ระยะเวลา และค่าใช้จ่าย 3) ปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการใช้บริการ พบว่า ด้านผลิตภัณฑ์มีผลต่อการใช้บริการในระดับมากที่สุด ด้านราคาด้านช่องทางการจัดจำหน่าย ด้านส่งเสริมการตลาด ด้านบุคลากร ด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพและด้านกระบวนการ มีผลต่อการใช้บริการในระดับมาก 4) ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยส่วนประสมการตลาดที่มีความสัมพันธ์ต่อพฤติกรรมการใช้บริการ พบว่าอายุมีความสัมพันธ์กับ ความถี่ในการใช้บริการและระยะเวลาที่ใช้บริการ รายได้มีความสัมพันธ์กับระยะเวลาและค่าใช้จ่ายในการใช้บริการ ด้านช่องทางการจัดจำหน่าย และด้านส่งเสริมการตลาดมีความสัมพันธ์ต่อความถี่ ระยะเวลาและค่าใช้จ่าย ส่วนด้านสิ่งแวดล้อมทางกายภาพมีผลต่อระยะเวลาและค่าใช้จ่าย ด้านกระบวนการมีความสัมพันธ์กับความถี่และระยะเวลาที่ใช้บริการ ด้านผลิตภัณฑ์ และด้านราคามีความสัมพันธ์กับความถี่ในการใช้บริการ ด้านบุคลากรมีความสัมพันธ์กับระยะเวลาที่ใช้บริการ อย่างมี นัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7224
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
150605.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.98 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons