Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7229
Title: | การพัฒนาการบริหารสภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ |
Other Titles: | Administrative development of the National Economic and Social Advisory Council |
Authors: | จีระ ประทีป รษิกา ชาญณรงค์. มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา จำเนียร ราชแพทยาคม |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์ สภาที่ปรึกษาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ--การบริหาร |
Issue Date: | 2558 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) วิเคราะห์การพัฒนาการบริหารสภาที่ปรึกษาฯ (2) ศึกษาปัญหาการพัฒนาการบริหารสภาที่ปรึกษาฯ (3) เสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารสภาที่ปรึกษาฯ การวิจัยครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มผู้ให้ข้อมูลในการวิจัยประกอบด้วย กลุ่มผู้บริหารสภาที่ปรึกษาฯ จำนวน 3 คน กลุ่มผู้บริหารของสำนักงานสภาที่ปรึกษาฯ กลุ่มผู้บริหารสนับสนุนปฏิบัติงานของสภาที่ปรึกษาฯ จำนวน 4 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย คือ แบบสัมภาษณ์ ที่ผู้วิจัยสร้างขึ้น วิธีการเก็บ รวบรวมข้อมูล ได้แก่ ศึกษาจากเอกสาร และสัมภาษณ์ และการวิเคราะห์ข้อมูล เป็นการวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) การพัฒนาการบริหารสภาที่ปรึกษาฯ ด้านโครงสร้างการบริหารแบ่งการทำงานเป็นคณะทำงาน มีสำนักงานฯ สนับสนุนการทำงาน ด้านอำนาจหน้าที่ ทำหน้าที่ให้คำปรึกษาและข้อเสนอแนะต่อคณะรัฐมนตรีในปัญหาต่างๆ ที่เกี่ยวกับเศรษฐกิจและสังคมให้ความเห็นต่อแผนพัฒนาฯ และข้อกฎหมายที่เกี่ยวข้อง มีกระบวนการดำเนินงาน การศึกษาข้อมูลจากเอกสาร การจัดประชุมคณะทำงาน การรับฟังข้อมูลจากผู้ที่มีส่วนได้ส่วนเสีย จัดทำข้อเสนอแนะเสนอคณะรัฐมนตรี ด้านกฎหมายที่สำคัญมี 3 ฉบับ คือ รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2540 และ พ.ร.บ. สภาที่ปรึกษาฯ พ.ศ. 2543 และแก้ไขเพิ่มเติม (ฉบับที่ 2) พ.ศ.2547 และประกาศคณะรักษาความสงบแห่งชาติ ฉบับที่ 107/2557 (2) ปัญหาการพัฒนาการบริหารสภาที่ปรึกษาฯ มีโครงสร้างการบริหารที่เป็นคณะทำงานย่อยมากเกินไป การทา หน้าที่การให้ข้อเสนอต่อคณะรัฐมนตรีบางเรื่องขาดความชัดเจนบางเรื่องมีความซ้ำซ้อนกับหน่วยงานของรัฐที่ทำอยู่แล้ว กระบวนการดำเนินงาน ไม่สามารถรับฟังข้อมูลจากเครือข่ายได้อย่างครอบคลุม ด้านกฎหมาย พ.ร.บ.สภาที่ปรึกษาฯ กำหนดกระบวนการสรรหาไว้อย่างซับซ้อน (3) ข้อเสนอแนวทางการพัฒนาการบริหารสภาที่ปรึกษาฯ คือ ด้านโครงสร้าง ควรให้มีกลไกการทำปฏิบัติงาน เพียง 2 ระดับที่ดำเนินงานต่อเนื่องกัน คือ ให้มีคณะทำงานประจำและคณะทำงานเฉพาะกิจ ด้านอำนาจหน้าที่ ต้องศึกษาประเด็นด้านเศรษฐกิจและสังคมของประเทศที่มีความสำคัญจริงๆ ด้านกระบวนการดำเนินงาน ควรสร้างเครื่องมือในการนำเสนอความเห็นโดยการสร้างและเชื่อมโยงเครือข่ายกลุ่มต่างๆ ด้านกฎหมาย ควรปรับปรุง พ.ร.บ.สภาที่ปรึกษาฯ โดยการกำหนดกติกาการลงคะแนนเสียงใหม่ และสร้างกลไกเพื่อตรวจสอบองค์กรที่จะสมัครรวมทั้ง กำหนดคุณสมบัติของผู้ที่จะมาเป็นสมาชิก |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7229 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
151248.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 4.6 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License