Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7235
Title: | การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยการตลาดกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในประเทศไทย |
Other Titles: | Synthesis research on marketing factors and purchasing behavior through the electronic commerce of consumers in Thailand |
Authors: | เสาวภา มีถาวรกุล อรวรรณ วรรณโชติ, 2516- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี การพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ พฤติกรรมผู้บริโภค การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ |
Issue Date: | 2551 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การสังเคราะห์งานวิจัยเกี่ยวกับปัจจัยการตลาดกับพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในประเทศไทยโดยมีวัตถุประสงค์ในการศึกษาดังนี้ 1. เพื่อศึกษาพฤติกรรมในการซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ 2. เพื่อศึกษาปัจจัยที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในประเทศไทย 3. เพื่อสังเคราะห์ปัญหาและอุปสรรค์ตลอดจนแนวโน้มของพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในประเทศไทย ผลการศึกษาค้นคว้าที่ได้คือ ปัจจัยที่การตลาดมีผลต่อพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในประเทศไทย มากที่สุดจากผลการสังเคราะห์ คือ ปัจจัยส่วนบุคคล คือ เพศ อายุ อาชีพ รายได้ และระดับการศึกษาที่มีผลต่อพฤติกรรมการซื้อจากประเภทของสินค้า วัตถุประสงค์ในการเลือกชื่อสินค้ามากที่สุด นอกจากนี้ปัจจัยการตลาดได้แก่ ปัจจัยด้านผลิตภัณฑ์ ปัจจัยด้านราคา ปัจจัยด้านการจัดจำหน่าย และปัจจัยด้านการส่งเสริมการขายมีอิทธิพลต่อพฤติกรรมการซื้อในด้านการใช้เป็นเหตุผลในการตัดสินใจซื้อมากที่สุด ปัญหาและอุปสรรค์ ตลอดจนแนวโน้มของพฤติกรรมการซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในประเทศไทย คือ ความไม่มั่นใจ ความปลอดภัยในการทำธุรกรรมผ่านระบบพาณิชย์อิล็กทรอนิกส์ และความไม่มั่นใจในคุณภาพสินค้า และการส่งมอบสินค้าที่ถูกต้อง มีคุณสมบัติตรงตามที่ลูกค้าคาดหวังแต่อย่างไรก็ดีการซื้อสินค้าผ่านระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ของผู้บริโภคในประเทศไทยยังคงมีแนวไน้มในทางที่ดีคือ สามารถดำเนินต่อไปได้โดยจะเห็นได้จากมูลค่พาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์ที่เพิ่มขึ้นทุกปี ข้อเสนอเนะสำหรับผู้เกี่ยวข้องสามารถนำข้อมูลไปใช้ในการกำหนดกลยุทธ์การตลาด ทางด้านการจัดจำหน่ายสินค้าและบริการผ่านระบบพาณิชย์อิเกทรอนิกส์ให้สอดคล้องกับความต้องการของผู้บริโภค ตลอดจนใช้เป็นแนวทางในการตัดสินใจในกรลงทุนทำการค้าผ่านระบบพาณิชย์ ต่อไป |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7235 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
Fulltext_122057.pdf | 5.8 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License