กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/723
ชื่อเรื่อง: | อำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Authority to establish of the constitution and the power to amendment of the researcher |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | วิกรณ์ รักษ์ปวงชน สิงห์ฐาน จันทรา, 2518- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา กิติพงศ์ หังสพฤกษ์ |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. วิชาเอกกฎหมายมหาชน--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์--วิทยานิพนธ์ สภาร่างรัฐธรรมนูญ รัฐธรรมนูญ การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ไทย--กฎหมายรัฐธรรมนูญ--การแก้ไข |
วันที่เผยแพร่: | 2556 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | วิทยานิพนธ์เ รื่อง อํานาจสถาปนารัฐธรรมนูญกับการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อการจัดตั้งสภาร่าง รัฐธรรมนูญจัดทำขั้นเพื่อศึกษาอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ และอำนาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญวิเคราะห์การ จัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญในประเทศไทย พ.ศ. 2491, พ.ศ. 2539, พ.ศ. 2549 คําวินิจฉัยศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-22/2555 กรณีอํานาจรัฐสภาในการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศกราช 2550 เพื่อจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญและเสนอวิธีที่รัฐสภาจะจัดให้ มีสภาร่างรัฐธรรมนูญรวมถึงการออกแบบหลักเกณฑ์ และวิธีการจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญในรัฐธรรมนูญฉบับถาวร วิทยานิพนธ์นี้เป็นการวิจัยเชิงคุณภาพโดยวิจัยเอกสารค้นคว้า รวบรวมเอกสาร หนังสือ บทความ หลักทฤษฎีอํานาจสูงสุดในการก่อตั้งองค์กรทางการเมืองอํานาจแก้ไข เปลี่ยนแปลงองค์กรทางการเมืองศึกษาประวัติศาสตร์การจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญประเทศไทย พ.ศ. 2491, พ.ศ. 2539, พ.ศ. 2549 สภาร่างรัฐธรรมนูญสหรัฐอเมริกาฝรั่งเศส และอินเดีย วิเคราะห์อํานาจสถาปนารัฐธรรมนูญ แห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศกราช 2550 คําวินิจฉัยของศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-22/2555 ผลการวิจัยพบว่าการแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2491 และ พ.ศ. 2539 ไม่ถือว่ารัฐสภาใช้อํานาจแก้ไขเปลี่ยนแปลงองค์กรทางการเมืองที่ขัดต่ออำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ส่วนสภาร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2549 เกิดขึ้นจากอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญโดยตรง ผู้วิจัยไม่เห็นด้วยกับคำวินิจฉัย ศาลรัฐธรรมนูญที่ 18-22/2555 ที่มีความเห็นว่าประชาชนเป็นผู้ลงประชามติรัฐธรรมนูญจึงเป็นผู้สถาปนา รัฐธรรมนูญ เนื่องจากไม่สอดคล้องกับหลักอำนาจสถาปนารัฐธรรมนูญ ผู้วิจัยเห็นว่าเมื่อรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจกรไทย พุทธศักราช 2550 มีผลใช้บังคับอํานาจสถาปนารัฐธรรมนูญจึงกลับมาอยู่ที่ประชาชน รัฐสภาไม่มีอํานาจแก้ไขเพิ่มเติมรัฐธรรมนูญเพื่อจัดตั้งสภาร่างรัฐธรรมนูญโดยรัฐสภาจะต้องทำประชามติเพื่อขอความ เห็นชอบจากประชาชน ดังนั้นหากมีการร่างรัฐธรรมนูญฉบับต่อไปควรมีบทบัญญัติว่าด้วยการร่างรัฐธรรมนูญใหม่ เพื่อลดความขัดแย้งจากความต้องการร่างรัฐธรรมนูญใหม่แทนรัฐธรรมนูญฉบับเดิม |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2556 |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/723 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Law-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
Thesbib140336.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 25.23 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License