Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/726
Title: พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 กับการเปิดเผยสำนวนการสอบสวนคดีอาญา
Other Titles: Official Information Act, B.E. 2540 and evidence disclosure in the filing of criminal inquiry
Authors: ภาณุมาศ ขัดเงางาม, อาจารย์ที่ปรึกษา
วิชัย ธัญญพาณิชย์, อาจารย์ที่ปรึกษา
สันติ มุริจันทร์, 2513-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชากฎหมายมหาชน -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชานิติศาสตร์ -- วิทยานิพนธ์
พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540
การสืบสวนคดีอาญา
การเปิดเผยข้อมูล -- กฎหมายและระเบียบข้อบังคับ
Issue Date: 2558
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยเรื่อง พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 กับการเปิดเผยสํานวนการสอบสวน คดีอาญา มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาขอบเขตและสิทธิของผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จําเลย ผู้มีส่วนได้เสียในการเข้าถึงข้อมูล ข่าวสารของราชการในรูปสํานวนการสอบสวนในชั้นพนักงานอัยการ ตามพระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ. 2540 และกฎหมายอื่น ปัญหาที่เกิดจากการบังคับใช้กฎหมายและการใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการในกรณีที่มีผู้ยื่นคําขอ ข้อมูลข่าวสารในรูปสํานวนการสอบสวน และหาแนวทางที่เหมาะสมในการบังคับใช้กฎหมายและการใช้ดุลพินิจของ พนักงานอัยการในกรณีการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการดังกล่าว งานวิจัยเรื่องนี้เป็นการวิจัยทางกฎหมาย โดยการวิจัยเชิงคุณภาพ ด้วยการวิจัยทางเอกสาร จากข้อมูลคําวินิจฉัยของคณะกรรมการวินิจฉัยการเปิดเผยข้อมูลข่าวสารสาขาสังคม การบริหารราชการแผ่นดินและการบังคับใช้ กฎหมายในส่วนที่เกี่ยวข้องกับพนักงานสอบสวนและพนักงานอัยการในการอุทธรณ์ขอให้เปิดเผยสํานวนการสอบสวนเป็นหลัก ผลการวิจัยพบว่าสํานวนการสอบสวนที่พนักงานอัยการยังไม่มีคําสั่งเด็ดขาดทางคดีนั้นเป็นข้อมูลข่าวสารที่ ไม่สมควรเปิดเผย เพราะการเปิดเผยอาจทําให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อมประสิทธิภาพหรือไม่อาจสําเร็จตามวัตถุประสงค์ได้ แต่ถ้าคดีนั้นมีคําสั่งเด็ดขาดไม่ฟ้องหรือคําสั่งยุติคดีแล้ว การเปิดเผยย่อมไม่ทําให้การบังคับใช้กฎหมายเสื่อม ประสิทธิภาพหรือไม่บรรลุวัตถุประสงค์ดังกล่าวแต่อย่างใด ยกเว้น การเปิดเผยจะก่อให้เกิดความเสียหายต่อความมั่นคงของประเทศ เพื่อรักษาความสงบเรียบร้อยหรือเป็นข้อมูลข่าวสารส่วนบุคคล ส่วนปัญหาการบังคับใช้กฎหมายและการใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการในกรณีนี้พบว่าพนักงานอัยการจะใช้ดุลพินิจเปิดเผยโดยพิจารณาในเชิงผู้มีสิทธิเข้าถึงสํานวน การสอบสวนและเนื้อหาในสํานวนการสอบสวนที่เข้าถึงได้ตามเงื่อนไขในประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาเป็นสําคัญ แต่อย่างไรก็ตามสิทธิของผู้เสียหาย ผู้ต้องหา จําเลยหรือผู้มีส่วนได้เสีย ตามมาตรา 8(6) วรรคสามและมาตรา 146 วรรคสอง แห่งประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญานั้นเป็นเพียงสิทธิขั้นพื้นฐาน บุคคลเหล่านั้นอาจใช้สิทธิตาม พระราชบัญญัติข้อมูลข่าวสารของราชการ พ.ศ.2540 ซึ่งเป็นกฎหมายที่รองรับสิทธิของบุคคลตามรัฐธรรมนูญที่ขยายสิทธิ ของประชาชนในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารของราชการให้กว้างขวางยิ่งกว่าได้ สําหรับแนวทางที่เหมาะสมในการบังคับใช้กฎหมายและการใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการนั้น ควรมีการพัฒนาองค์ความรู้และความเข้าใจในหลักการของกฎหมาย ว่าด้วยข้อมูลข่าวสารของราชการแก่พนักงานอัยการ และแก้ไขเพิ่มเติมประมวลกฎหมายวิธีพิจารณาความอาญาขยายสิทธิ ของประชาชนในการเข้าถึงสํานวนการสอบสวนให้กว้างขวางยิ่งขึ้นและกำหนดนิยามคําว่า “ผู้มีส่วนได้เสีย” ไว้ในระเบียบ ภายในของสํานักงานอัยการสูงสุดให้ชัดเจนเพื่อความสะดวกในการใช้ดุลพินิจของพนักงานอัยการ
Description: วิทยานิพนธ์ (น.ม. (กฎหมายมหาชน))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2558
URI: http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/726
Appears in Collections:Law-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Thesbib152365.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.04 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons