กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7272
ชื่อเรื่อง: ความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิผลขององค์การ : ศึกษากรณีสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Relationship between human resource development and organization effectiveness : a case study of the Office of The Food and Drugs Administration / Relationship between human resource development and organization effectiveness : a case study of the Office of The Food and Drugs Administration
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เสน่ห์ จุ้ยโต, อาจารย์ที่ปรึกษา
ธนาพนธ์ ทองพานิช, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา--การบริหาร
การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์
ประสิทธิผลองค์การ
การศึกษาอิสระ--บริหารรัฐกิจ
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) เพื่อศึกษาการดำเนินการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (2) เพื่อศึกษาประสิทธิผลองค์การของสำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา (3) เพื่อศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์กับประสิทธิผลองค์การของ สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา การศึกษาครั้งนี้มีลักษณะเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ (Survey Research) ใช้แบบสอบถามเป็น เครื่องมือในการเก็บรวบรวมข้อมูล กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาได้แก่ข้าราชการสำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา รวม 230 คน แปรผลด้วยโปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูป สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ ผลการศึกษา พบว่า(1) ภาพรวมของการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ของสำนักงานคณะกรรมการ อาหารและยา มีการดำเนินการในระดับมาก และรายด้านได้ แก่การพัฒนาตนเอง การให้อำนาจ การให้การศึกษามีการดำเนินการในระดับมาก สำหรับการจัดสภาพแวดล้อมให้เอื้อต่อการพัฒนา และด้านการฝึกอบรมมีการดำเนินการในระดับปานกลาง (2) ประสิทธิผลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ในภาพรวมมีการดำเนินการในระดับมาก และรายด้านได้แก่การพัฒนาศักยภาพผู้บริโภค การดำเนินการตามกฎหมาย การศึกษาวิจัยและพัฒนา การพัฒนากลไกในการบังคับใช้กฎหมายมีประสิทธิผลในระดับมาก สำหรับการกำกับดูแลผลิตภัณฑ์สุขภาพ และด้านการพัฒนาเครือข่ายความร่วมมือมีประสิทธิผลในระดับปานกลาง (3) การพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ส่วนใหญ่ไม่มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ยกเว้นการพัฒนาทรัพยากรมนุษย์ด้านการให้การศึกษา การฝึกอบรม และการให้อำนาจ มีความสัมพันธ์กับประสิทธิผลของสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา เป็นไปในทิศทางเดียวกันในระดับต่ำ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7272
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_123230.pdf11.2 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons