กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7293
ชื่อเรื่อง: กลยุทธ์การปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจร้านค้าปลีกในเขตเทศบาลเมืองปากช่อง จังหวัดนครราชสีมา
ชื่อเรื่องอื่นๆ: The adaptation strategy of retail store entrepreneur in Pak Chong Municipality, Nakhon Ratchasima Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เชาว์ โรจนแสง, อาจารญ์ที่ปรึกษา
ขุนทอง ศาลางาม, 2506-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: ร้านค้าปลีก--ไทย--นครราชสีมา
ร้านค้าปลีก--การตลาด
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตลุประสงค์เพื่อศึกษา (1)กลยุทธ์การปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจ ร้านค้าปลีก ในเขตเทศบาลเมืองปากช่อง ด้านการเงิน ด้านการตลาด ด้านการจัดการภายใน ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ และด้านการบริหารงานบุคคล (2) เปรียบเทียบกลยุทธ์การปรับตัวของ ผู้ประกอบการธุรกิจร้านค้าปลีก ในเขตเทศบาลเมืองปากช่อง จำแนกตามเพศ อายุ ระดับการศึกษา รายได้ต่อเดือน และรูปแบบร้านค้า การวิจัยเป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ใช้สถิติเชิงพรรณนาเพื่อหาค่าสถิติพื้นฐาน และสถิติ ทดสอบเพื่อใช้วิเคราะห์ผลของตัวแปรต่างๆขนาดของประชากร 300รายขนาดของกลุ่มตัวอย่าง 172 รายโดยใช้ตารางของทาโรยามาเน และทำการทดสอบแบบเปรียบค่าเฉลี่ยรายคู่ต่อโดยวิธีเซฟเฟ ผลการวิจัยพบว่า (1)ผู้ประกอบการธุรกิจร้านค้าปลีก กลยุทธ์การปรับตัวในต้าน การเงินสูงที่สุด โดยเฉพาะในเรื่องการควบคุมต้นทุนค่าใช้จ่าย ส่วนกลยุทธ์การปรับตัวต่ำสุดคือ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ ในเรื่องของมีการใช้อินเตอร์เน็ฅเชื่อมโยงเครือข่ายคอมพิวเตอร์ออนไลน์ ระหว่างร้านค้า (2) เปรียบเทียบกลยุทธ์การปรับตัวของผู้ประกอบการธุรกิจร้านค้าปลีกจำแนกตาม เพศ โดยการทดสอบทางสถิติสมมติฐานของกลุ่มตัวอย่างสองกลุ่มที่เป็นอิสระต่อกัน พบว่าโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 คือด้านการจัดการภายใน เรื่องการบริหารจัดการ ภายในร้านค้า แตกต่างกันมากที่สุด ไม่แตกต่างกันคือ ด้านบริหารงานบุคคล เมื่อทำการทดสอบทาง สถิติโดยวิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว ซื่งจำแนกตามอายุ พบว่า โดยรวมแตกต่างกันและ แตกต่างกันทุกด้าน เมื่อทำการทดสอบแบบเปรียบเทียบรายคู่โดยวิธีเซฟเฟ่ พบว่า ด้านบริหารงาน บุคคลไม่แตกต่างกัน จำแนกตามระดับการศึกษา โดยรวมแตกต่างกันและแตกต่างกันทุกด้าน จำแนก ตามรายได้ต่อเดือน โดยรวมแตกต่างกันและแตกต่างกันทุกด้าน จำแนกตามรายไต้ต่อเดือน โดยรวม แตกต่างกันและแตกต่างทุกด้าน จำแนกตามรูปแบบร้านค้าโดยรวมแตกต่างกันและแตกต่างกันทุกด้าน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ที่ไม่แตกต่างกันคือ เรื่องมีคุณธรรมและความซื่อสัตย์ต่อลูกค้า การสรรหาและการคัดเลือกลูกจ้างเข้าทำงานโดยระบบคุณธรรม นอกนั้นแตกต่างกัน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7293
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_124181.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.38 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons