กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7296
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของข้าราชการสำนักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting teamwork efficiency of government officer performance in the Office of Royal Thai Air Force Internal Audit
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณรงค์ศักดื้ บุญเลิศ, อาจารย์ที่ปรึกษา
คมกฤช จันทร์โอภาส, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: สำนักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ--ข้าราชการ
การทำงานเป็นทีม
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2553
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของหน่วยงานสำนักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ (2) เปรียบเทียบระดับปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของหน่วยงานสำนักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ (3) เสนอแนะแนวทางในการเสริมสร้างประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมของข้าราชการใน สำนักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ ประชากร คือ ข้าราชการสำนักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศ กำหนดขนาดตัวอย่างโดย ใช้การคำนวณจำนวน 100คน โดยใช้วิธีการเลือกตัวอย่างแบบความน่าจะเป็นวิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละค่าเฉลี่ยส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าทีและการ วิเคราะห์ความแปรปรวนแบบทางเดียว โดยกำหนดระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการศึกษา พบว่า (1) ข้าราชการสำนักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศมีระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม อยู่ในระดับมาก (2) ข้าราชการ สำนักงานตรวจสอบภายในทหารอากาศที่มีอายุ ระดับการศึกษา ระดับชั้นยศ ระดับตำแหน่ง หน่วยงานที่ ทำงานอยู่ และประสบการณ์ แตกต่างคัน มีความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 ส่วนระดับความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อ ประสิทธิภาพการทำงานเป็นทีมโดยรวม แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.01 (3)เสนอแนะ แนวทางส่งเสริมการทำงานเป็นทีมคือ การที่กลุ่มบุคคลช่วยกันผลักดันให้การทำงานไปในทิศทาง เดียวกัน มีความผูกพัน รับผิดชอบที่จะทำงานให้บรรลุวัตถประสงค์ร่วมกันในการทำงานเป็น ทีมงานจะต้องมีการจัดการที่ดี มีการวางแผนการคำเนินงานที่รอบคอบ มีการศึกษาให้ชัดเจนและมี ความเข้าใจกันอย่างทั่วถึง ทีมที่ดีจำเป็นต้องมีการวิเคราะห์ปัญหาจุดอ่อนของงานของกลุ่มให้ได้ก่อนที่ จะลงมือปฏิบัติงานเพื่อความมั่นใจว่าจะสามารถเผชิญกับปัญหาที่เกิดขึ้น
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7296
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
fulltext_124187.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.17 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons