Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7305
Title: ความพึงพอใจต่อการให้บริการทางการแพทย์ตามโครงการประกันสังคมในโรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา
Other Titles: Satisfaction toward medical services under the social security policy in Hat-Yai Hospital, Songkhla Province / Satisfaction toward medical services under the social security policy in Hat-Yai Hospital, Songkhla Province
Authors: รังสรรค์ ประเสริฐศรี, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดวงใจ แซ่ลิ่ม, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
โครงการประกันสังคม--บริการทางการแพทย์
บริการทางการแพทย์--ไทย--สงขลา
Issue Date: 2553
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ระดับความพึงพอใจของผู้ประกันตนที่มีต่อการให้บริการทางด้านการแพทย์ตามสิทธิประกันสังคมของโรงพยาบาลหาดใหญ่ (2) ความคิดเห็นต่อปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจต่อการให้บริการทางการแพทย์ตามโครงการประกันสังคมโรงพยาบาลหาดใหญ่ และ (3) ปัญหา อุปสรรค และข้อเสนอแนะแนวทางแก้ไขที่ผู้ประกันตนได้รับจากการบริการทางด้านการแพทย์ตามสิทธิประกันสังคมของโรงพยาบาลหาดใหญ่ การวิจัยครั้งนี้มีจำนวนประชากรคือ ผู้ใช้สิทธิประกันสังคมโรงพยาบาลหาดใหญ่ จังหวัดสงขลา จำนวน 127,026 คน และกลุ่มตัวอย่าง สามารถคำนวณได้จากสูตรทาโร ยามาเน่ จำนวน 400 คน ซึ่งทำการเก็บข้อมูลครั้งเดียว ณ ช่วงเวลาใดเวลาหนึ่ง โดยใช้แบบสอบถามเป็นเครื่องมือในการรวบรวมข้อมูลจากกลุ่มตัวอย่างในพื้นที่เป้าหมาย เพื่อศึกษาระดับความพึงพอใจ ระดับปัญหาและข้อเสนอแนะในการแก้ไขปัญหาเกี่ยวกับพึงพอใจของผู้ประกันตนที่มีต่อการให้บริการทางด้านการแพทย์ตามสิทธิประกันสังคมของโรงพยาบาลหาดใหญ่ผลการวิจัย พบว่า (1) ความพึงพอใจต่อการให้บริการทางการแพทย์ ตามโครงการประกันสังคมในโรงพยาบาลหาดใหญ่จังหวัดสงขลาในภาพรวมอยูในระดับปานกลาง (2) ปัจจัยที่มีผลต่อความพึงพอใจต่อการให้บริการในด้านต่าง ๆ อยู่ในระดับปานกลาง และ (3) ปัญหาของการรับบริการตามสิทธิประกันสังคมโรงพยาบาลหาดใหญ่ แยกได้เป็นประเด็นต่าง ๆ กล่าวคือ สถานที่มีจำกัด ไม่เพียงพอต่อจำนวนผู้รับบริการ บุคลากรไม่มีอัธยาศัยต่อผู้ไปใช้บริการ บุคลากรมีจำนวนไม่เพียงพอ ทำให้ต้องใช้เวลารับบริการนานเกินไป การตรวจรักษาโดยมากจะพบกับแพทย์จบใหม่หรือนักศึกษาแพทย์ ทำให้ไม่มั่นใจในผลการตรวจรักษา การวินิจฉัยโรคค่อนข้างเร็วมาก เมื่อเทียบกับระยะเวลาในการพบแพทย์ ทำให้ไม่มันใจว่าการวินิจฉัยจะมีความละเอียดมากน้อยเพียงใด จำนวนเงินที่จ่ายไปในแต่ละปี ไม่คุ้มค่ากับบริการที่ได้รับ ตามลำดับ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7305
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
Fulltext_125882.pdf10.49 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons