กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7311
ชื่อเรื่อง: คุณภาพการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงระบบ ADSL ของบริษัททีโอที จำกัด (มหาชน) : กรณีศึกษาส่วนบริการลูกค้าโทรศัพท์ จังหวัดหนองคาย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: A study on the quality service of high speed internet with ADSL connection in the TOT Company Limited : a case study of customer service center in Nongkhai Province / Study on the quality service of high speed internet with ADSL connection in the TOT Company Limited : a case study of customer service center in Nongkhai Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: สุวีณา ตั่งโพธิสุวรรณ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุรสิทธิ์ รัตนพันธ์, 2505-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ --การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ --การศึกษาเฉพาะกรณี
บริษัททีโอที จำกัด (มหาชน)
อินเทอร์เน็ต--ไทย--หนองคาย
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาคันคว้าวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์ ( 1) เพื่อศึกษาระดับคุณภาพการให้บริการอินเตอร์เน็ตความเร็วสูงระบบ ADSL บริษัท ทีโอที จำกัด (มหาชน) : กรณีศึกษาส่วนบริการลูกค้าโทรศัพท์จังหวัดหนองคาย (2) เพื่อศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลของผู้รับบริการกับคุณภาพการให้บริการ ในเรื่องคุณภาพบริการ 10 ด้าน ได้แก่ ความเชื่อถือได้ การตอบสนอง ขีดความสามารถ การเข้าถึง อัธยาศัย การสื่อสาร ความน่าเชื่อถือ ความมั่นคงปลอดภัย ความเข้าใจ และลักษณะทางกายภาพที่สัมผัสได้ กลุ่มตัวอย่างคือ ผู้รับบริการใช้อินเตอร์เน็ตความเร็วสูงระบบ ADSL ในพื้นที่จังหวัดหนองคาย ในช่วงเดือน มีนาคม - พฤยภาคม 2553 จำนวน 367 คน ใช้วิธีสุ่มตัวอย่างแบบบังเอิญ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถามคุณภาพการบริการ การวิเคราะห์ข้อมูลใช้โปรแกรมคอมพิวเตอร์สำเร็จรูปทางสถิติ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลคือ ค่าเฉลี่ย ค่าร้อยละ ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบ ค่าเอฟ โดยกำหนดนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัยพบว่า (1) ระดับคุณภาพการให้บริการทั้ง 10 ด้าน คือ ความเชื่อถือได้ การตอบสนอง ขีดความสามารถ การเข้าถึง อัธยาศัย การสื่อสาร ความน่าเชื่อถือ ความมั่นคงปลอดภัย ความเข้าใจ และลักษณะทางกายภาพที่สัมผัสได้ อยู่ในระดับ ดี (2) ผลการศึกษาความแตกต่างระหว่างปัจัยส่วนบุคคลของผู้รับบริการกับคุณภาพการให้บริการ พบว่าปัจจัยด้านเพศ อายุ อาชีพ รายได้ การศึกษามีความคิดเห็นแตกต่างกันในคุณภาพด้านความมั่นคงปลอดภัย ปัจจัยด้านอายุ การศึกษา รายได้ มีความคิดเห็นแตกต่างกันในด้านลักษณะทางกายภาพที่สัมผัสได้ ปัจจัยด้าน อาชีพ รายได้ มีความคิดเห็นแตกต่างกันในด้านความเชื่อถือได้ และด้านการสื่อสาร อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7311
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_127165.pdf4.75 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons