กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7316
ชื่อเรื่อง: ผลสัมฤทธิ์ภาวะผู้นำภาคปฏิบัติของผู้จัดการระดับกลางของซุปเปอร์เซ็นเตอร์เขตพื้นที่กรุงเทพมหานคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Leadership practices achievement of middle level managers of Super Centers in Bangkok Metropolitan
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ณรงค์ศักดิ์ ธนวิบูลย์ชัย
นภสรณ์ เรืองกิจวณิชกุล
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ธนชัย ยมจินดา
ประเสริฐ สุทธิประสิทธิ์
คำสำคัญ: ห้างสรรพสินค้า
นักบริหาร
ภาวะผู้นำทางการศึกษา
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยมีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาผลสัมฤทธิ์ของภาวะผู้นำภาคปฏิบัติของผู้จัดการระดับกลาง (2) ศึกษาทักษะภาวะผู้นำภาคปฏิบัติของผู้จัดการระดับกลาง (3) เปรียบเทียบความแตกต่างของลักษณะประชากรที่มีต่อทักษะภาวะผู้นำภาคปฏิบัติและมีต่อผลสัมฤทธิ์ภาวะผู้นำภาคปฏิบัติของผู้จัดการระดับกลางและ (4) ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างทักษะภาวะผู้นำภาคปฏิบัติกับผลสัมฤทธิ์ของภาวะผู้นำภาคปฏิบัติของผู้จัดการระดับกลางประชากรคือพนักงานสาขาต่างๆของซุปเปอร์เซ็นเตอร์ กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการศึกษาคือพนักงานที่ปฏิบัติงานในสโตร์ของซุปเปอร์เซ็นเตอร์ เฉพาะเขตพื้นที่กรุงเทพมาหานคร ได้แก่บริษัทแมคโคร เทสโก้ โลตัส และบิ๊กซี ซึ่งมีจำนวน 400 คน ใช้แบบสอบถามในการเก็บรวบรวมข้อมูล โดยให้ฝ่ายบุคคลของทุกบริษัท สุ่มตัวอย่างพนักงาน เพื่อทำแบบสอบถาม มีการตรวจสอบความชัดเจนของเนื้อหาและความถูกต้องของแบบสอบถามมีค่าความเที่ยงเท่ากับ 0.80 สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูลได้แก่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบที การทดสอบเอฟและสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ผลสัมฤทธิภาวะผู้นำภาคปฏิบัติของผู้จัดการระดับกลาง ของซุปเปอร์เซ็นเตอร์ในภาพรวมอยู่ในระดับดีทุกด้าน (2) ทักษะภาวะผู้นำภาคปฏิบัติ 6 ด้านในภาพรวมอยู่ในระดับดี (3) ผลการเปรียบเทียบความแตกต่าง พบว่า 3.1) พบว่า ลักษณะประชากรในด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ รายได้ต่อเดือน ระดับตำแหน่งงาน จำนวนพนักงาน และองค์กรที่สังกัดแตกต่างกันมีผลต่อผลสัมฤทธิ์ภาวะผู้นำภาคปฏิบัติของผู้จัดการระดับกลางไม่แตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญ ส่วนลักษณะประชากรในด้านประสบการณ์ทำงานในสโตร์ของซุปเปอร์เซ็นเตอร์ที่มีความคิดเห็นต่อภาวะผู้นำภาคปฏิบัติของผู้จัดการระดับกลางแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 3.2) ลักษณะประชากรในด้านเพศ อายุ ระดับการศึกษา สถานภาพ รายได้ต่อเดือน ระดับตำแหน่งงาน และประสบการณ์ทำงานในสโตร์ของซุปเปอร์เซ็นเตอร์ แตกต่างกันมีความคิดเห็นต่อทักษะภาวะผู้นำภาคปฏิบัติไม่แตกต่างกัน ส่วนลักษณะประชากรในด้านจำนวนพนักงานและองค์กรที่สังกัดแตกต่างกันมีผลต่อทักษะภาวะผู้นำภาคปฏิบัติแตกต่างกันอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01 (4) ทักษะภาวะผู้นำภาคปฏิบัติ พบว่ามีความสัมพันธ์ในเชิงบวกอยู่ในระดับปานกลางกับผลสัมฤทธิ์ภาวะผู้นำภาคปฏิบัติของผู้จัดการระดับกลางอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ.01
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7316
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
118445.pdfเอกสารฉบับเต็ม8.16 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons