Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7330
Title: การศึกษาความเป็นไปได้โครงการโรงงานผลิตน้ำยางข้น : กรณีศึกษาการตั้งโรงงานในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์
Other Titles: The feasibility study of concentrated latex factory : establishment at Prachuap Khiri Khan Province
Authors: ฐาปนา ฉิ่นไพศาล, อาจารย์ที่ปรึกษา
ขนิษฐา รัศมีลิ่มทอง, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
Keywords: น้ำยาง--การผลิต
โรงงาน--สถานที่ตั้ง
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
Issue Date: 2555
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: วัตถุประสงค์ในการศึกษาครั้งนี้เพื่อ(1)ศึกษาความเป็นไปได้ของโครงการโรงงานผลิต นํ้ายางข้นในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ (2) ประเมินความคุ้มค่าต่อการตัดสินใจลงทุนโครงการ โรงงานผลิตนํ้ายางข้นในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ รูปแบบการศึกษาครั้งนี้ เป็นการวิจัยเชิงประยุกต์โดยการวิเคราะห์ข้อมูลทุติยภูมิที่ รวบรวมมาจากองค์กรภาครัฐบาล ภาคเอกชนและจากงานวิจัยต่างๆ ที่เกี่ยวข้องนำมาวิเคราะห์ ประมวลผลและศึกษาความเป็นไปได้ใน 4 ด้าน คือ ด้านการตลาด ด้านการผลิต ด้านการบริหาร และ ด้านการเงิน โดยประเมินความคุ้มค่าของโครงการด้วยวิธีระยะเวลาคืนทุน มูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตรา ผลตอบแทนของโครงการ อัตราผลตอบแทนต่อต้นทุน และการวิเคราะห์ความไว ภายใต้สมมติฐานการ ยอมรับโครงการการลงทุนที่อัตราผลตอบแทนการลงทุนมากกว่าร้อยละ 9 การวิเคราะห์ด้านการเงิน จากผลการวิเคราะห์ด้านการตลาด ด้านการผลิต และด้านการบริหาร โครงการโรงงานผลิตนํ้ายางข้นในจังหวัดประจวบคีรีขันธ์ พบว่า (1) โครงการใช้เงินลงทุน ทั้งสิ้น 218,483,627 บาท จำแนกออกเป็นเงินลงทุนในสินทรัพย์ถาวร 46,112,000 บาท ค่าใช้จ่ายก่อน ดำเนินงาน 990,000 บาท และเงินทุนหมุนเวียนสุทธิ 171,381,627 บาท (2) โครงการไม่มีความคุ้มค่า ต่อการตัดสินใจลงทุนเนื่องจากให้อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน (IRR) 5.9% มูลค่าปัจจุบันสุทธิ (NPV) -24,822,770 บาท (WACC 9.00%) ระยะเวลาการคืนทุน (PB) คือ4ปี 5 เดือน 28 วัน อัตรา ผลตอบแทนต่อต้นทุน (B/C Ratio) เท่ากับ 0.89 เท่า ซึ่งอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนดังกล่าวต่ำกว่า ต้นทุนเงินทุน และมูลค่าปัจจุบันสุทธิเป็นลบ โดยในการนำผลการศึกษานี้ไปใช้ ข้อควรระวังอย่างยิ่ง คือ ปัจจัยหลายๆ ด้าน ทั้งด้านสภาพตลาดปัจจุบัน ราคาวัตถุดิบ ด้านบริหารการจัดการ และด้านการเงิน ดังนั้นจึงจำเป็นที่จะต้องใช้ผู้มีประสบการณ์ หรือมีความชำนาญนั้นๆ มาช่วยในการ บริหารงานเพื่อทำให้โครงการประสบผลสำเร็จตามแผนงานที่วางไว้
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7330
Appears in Collections:Manage-Independent study

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
fulltext_137206.pdfเอกสารฉบับเต็ม17.97 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons