กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7350
ชื่อเรื่อง: การวิเคราะห์ผลตอบแทนการลงทุนเลี้ยงนกแอ่นของผู้ประกอบการในอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Analysis of the return on swiftlets farming investment in Banlaem District, Phetchaburi Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: อุทัยวรรณ จรุงวิภู
เสาวภา ชวดอุปัจ, 2526-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
นกแอ่น--การเลี้ยง--ไทย--เพชรบุรี
การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาถึงสภาพทั่วไปของการลงทุนเลี้ยงนกแอ่น ในอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี (2) วิเคราะห์ผลตอบแทนในการเลี้ยงนกแอ่น ในอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งประกอบด้วย รูปแบบอาคารเดี่ยวและรูปแบบต่อเติมบ้านพัก กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยครั้งนี้ คือ ผู้ประกอบการลงทุนเลี้ยงนกแอ่นทุกรายที่ขออนุญาตปลูกสร้างอาคารหรือต่อเติมบ้านพักสำหรับเลี้ยงนกแอ่นในเขตเทศบาลอำเภอบ้านแหลม จังหวัดเพชรบุรี ซึ่งมีจำนวนทั้งหมด 34 ราย โดยแบ่งเป็นรูปแบบอาคารเดี่ยว จำนวน 27 ราย และรูปแบบต่อเติมบ้านพัก จำนวน 7 ราย เครื่องมือที่ใช้เป็นแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบื่ยงเบนมาตรฐาน และเทคนิคที่ใช้ในการวิเคราะห์การลงทุน ได้แก่ การวิเคราะห์ระยะเวลาคืนทุน และการวิเคราะห์อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ผลการวิจัยพบว่า (1) ตั้งแต่ปี 2546-2332 การลงทุนเลี้ยงนกแอ่นรูปแบบอาคารเดี่ยว มีรายจ่ายฝ่ายทุน โดยเฉลี่ยรายละจำนวน 4,916,303.51 บาท รายจ่ายในการดำเนินกิจการต่อปีโดยเฉลี่ยรายละจำนวน 449,896.69 บาท มีรายได้ทั้งหมดจากการขายรังนกแอ่นและมูลนกแอ่นโดยเฉลี่ยรายละจำนวน 9,427,624.50 บาท และ 11,133.98 บาท ตามลำดับ รูปแบบต่อเติมบ้านพักมีรายจ่ายฝ่ายทุน โดยเฉลี่ยรายละจำนวน 2,034914.28 บาท รายจ่ายในการดำเนินกิจการต่อปี โดยเฉลี่ยรายละจำนวน 114,519.95 บาท มีรายได้ทั้งหมดจากการขายรังนกแอ่นและมูลนกแอ่นเฉลี่ยรายละจำนวน 780,016.67 บาท และ 1,670.00 ตามลำคับ (2) อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนของรูปแบบอาคารเดี่ยวและรูปแบบต่อเติมบ้านพักโดยเฉลี่ยต่อปี คือ19.04 % และ 0.01 % ตามลำดับ ระยะเวลาคืนทุนของรูปแบบอาคารเดี่ยวคือ 5 ปี 11 เดือน แต่รูปแบบต่อเติมบ้านพักดำเนินกิจการมาเป็นระยะเวลา 7 ปีแต่ยังไม่คืนทุน
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7350
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_129422.pdf2.62 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons