Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7365
Title: การประเมินโครงการลงทุนปลูกข้าวหอมมะลิในจังหวัดเชียงราย
Other Titles: Financial feasibility study of jasmine rice investment project in Chiangrai Province
Authors: กัลยาณี กิตติจิตต์
กรวิกา ปัญญาเสน, 2533-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
สุชาดา สถาวรวงศ์
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์
ข้าวหอมมะลิ--การปลูก--การประเมิน
ข้าวหอมมะลิ--การปลูก--การลงทุน--การประเมิน
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ประเมินโครงการลงทุนปลูกข้าวหอมมะลิในจังหวัดเชียงราย (2) เปรียบเทียบโครงการลงทุนปลูกข้าวหอมมะลิในจังหวัดเชียงราย ตามขนาดเนื้อที่ปลูกข้าวพื้นที่ปลูกข้าว และวิธีปลูกข้าว และ (3) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคของโครงการลงทุนปลูกข้าวหอมมะลิในจังหวัดเชียงราย ประชากรที่ใช้ในการศึกษา คือ เกษตรกรผู้ปลูกข้าวหอมมะลิในจังหวัด 31,910 รายกลุ่มตัวอย่างได้จากตารางเครซี่และมอร์แกน 379 ราย ตรวจสอบหาความเชื่อมั่น โดยใช้วิธีดัชนีสอดคล้องการวิเคราะห์ข้อมูล ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ และค่าเฉลี่ย การประเมินโครงการลงทุน ได้แก่ มูลค่าปัจจุบันสุทธิ ระยะเวลาคืนทุน อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ดัชนีกำไรและการวิเคราะห์ความไว ผลการวิจัยพบว่า (1) โครงการลงทุนปลูกข้าวหอมมะลิในจังหวัดเชียงราย มีอายุโครงการ 10 ปี ณ อัตราคิดลดร้อยละ 7 มีมลู ค่าปัจจุบันสุทธิ 145,925.34 บาท ระยะเวลาคืนทุน 0.87 ปี อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนร้อยละ 14.48 และดัชนีกำไร 15.48 เท่า ด้านการวิเคราะห์ความไว หากราคาขายเพิ่มขึ้นโครงการมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ดัชนีกำไรที่สูงขึ้น และระยะเวลาคืนทุนยาวนานขึ้น หากราคาขายลดลง โครงการมีมูลค่าปัจจุบันสุทธิ อัตราผลตอบแทนจากการลงทุน ดัชนีกำไรที่ลดลง และระยะเวลาคืนทุนเร็วขึ้น (2) การเปรียบเทียบโครงการลงทุนตามขนาดเนื้อที่ปลูกข้าวขนาดใหญ่ มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิมากที่สุด 693,849.49 บาท มีระยะเวลาคืนทุนที่เร็วที่สุด 0.77 ปี อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนมากที่สุดร้อยละ 8.77 และดัชนีกำไรมากที่สุด 9.77 เท่า การเปรียบเทียบพื้นที่ปลูกข้าว ข้าวนาสวน และข้าวน้ำลึก มีมลูค่าปัจจุบันสุทธิมากที่สุด 380,791.00 บาท ข้าวไร่และข้าวนาสวนมีระยะเวลาคืนทุนเร็วที่สุด 0.83 ปี ข้าวน้ำลึกมีอัตราผลตอบแทนจากการลงทุนมากที่สุดร้อยละ 7.87 และ ดัชนีกำไรมากที่สุด 8.87 เท่า การเปรียบเทียบวิธีปลูกข้าวนาดำ และนาหว่าน มีมูลค่าปัจจุบันสุทธิมากที่สุด 347,455.36 บาท มีระยะเวลาคืนทุนเร็วที่สุด 0.74 ปี อัตราผลตอบแทนจากการลงทุนมากที่สุดร้อยละ 9.24 และดัชนีกำไรมากที่สุด 10.24 เท่า และ (3) ปัญหาและอุปสรรคที่พบส่วนใหญ่ คือ ราคาปุ๋ยและสารเคมีที่สูง ภัยแล้ง และโรคพืช ศัตรูพืช
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7365
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
153221.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.75 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons