Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7386
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorเทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorดุสิต เวชกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorธนกร กลิ่นนาค, 2522--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-07-06T06:33:21Z-
dc.date.available2023-07-06T06:33:21Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7386-
dc.description.abstractการวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการบริหารโครงการ นาแปลงใหญ่ กลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่จังหวัดชัยนาท (2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของ เกษตรกรในการบริหารโครงการนาแปลงใหญ่ กลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่จังหวัดชัยนาท (3) เสนอแนะแนวทาง ในการสร้างการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการบริหารโครงการนาแปลงใหญ่จังหวัดชัยนาท การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนเกษตรกรจากกลุ่มนาแปลงใหญ่ ในจังหวัดชัยนาท ทั้งหมด 8 กลุ่ม ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 278 คน จากประชากรทั้งหมด 903 คน กำหนดขนาด กลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การทดสอบ ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการบริหารโครงการนาแปลงใหญ่ จังหวัดชัยนาท แต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยพบว่ากลุ่มนาแปลงใหญ่ บ้านทับใต้ มีระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด และ ประสิทธิผลของการมีส่วนร่วมทาให้โครงการนาแปลงใหญ่ จังหวัดชัยนาท ประสบผลสำเร็จมากกว่า ร้อยละ 80 (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการมีส่วนร่วมของ เกษตรกรนาแปลงใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยด้านธรรมาภิบาล ปัจจัยส่วนบุคคล และปัจจัยภาวะผู้นำ (3) เสนอแนวทางการพัฒนากลุ่มนาแปลงใหญ่จังหวัดชัยนาท ในการบริหารงานของ คณะกรรมการเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจากสมาชิก โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านธรรมาภิบาล คณะกรรมการต้องดำเนินงานด้วยความโปร่งใส สมาชิกสามารถตรวจสอบได้ และคำนึงถึงประโยชน์ส่วนร่วม เป็นหลัก 2) ด้านปัจจัยส่วนบุคคล คณะกรรมการต้องทราบถึงความพร้อม ความต้องการ ของสมาชิก เพื่อให้การ จัดกิจกรรมเป็นไปตามความต้องการและความพร้อมของสมาชิกในด้านต่างๆ เช่น เวลาว่างจากงานหลัก ความต้องการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ 3) ด้านภาวะผู้นำ คณะกรรมการต้องมีการประชุมหารือกับสมาชิก และเน้น การทำงานตอบสนองต่อความต้องการของสมาชิก มีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน สร้างความเชื่อมั่นให้กับ ผู้ตาม และสามารถกระตุ้นให้สมาชิกได้แสดงความคิดเห็น และรวมความคิดเห็นให้เป็นแนวทางในการ ดำเนินงานth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2016.103en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectโครงการนาแปลงใหญ่ -- ไทย -- ชัยนาทth_TH
dc.subjectการทำนา -- การมีส่วนร่วมของประชาชนth_TH
dc.subjectการบริหารโครงการ -- การมีส่วนร่วมของประชาชนth_TH
dc.subjectการทำนา -- ไทย -- ชัยนาทth_TH
dc.titleปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการนาแปลงใหญ่ : กรณีศึกษา กลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่จังหวัดชัยนาทth_TH
dc.title.alternativeFactors affecting the participation in managing of large rice field project : a case study of large rice field farmers group in Chainat Provinceth_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe research aimed to (1) study level of farmers’ participation in managing of large rice field project in Chainat Province, (2) study factors affecting farmers’ participation in managing of large rice field project in Chainat Province, and (3) recommend approaches to promote farmers’ participation in managing of large rice field project in Chainat Province. This research was a survey research. Samples of this research were 278 representatives of 8 groups of large rice field project, whose total number is 903 members. The sample size was calculated by using Taro Yamane formula. A questionnaire was the research tool. The statistics for data analysis employed t-test, One-way ANOVA, and Multiple Linear Regression. The results revealed that (1) level of farmers’ participation in managing each large rice field project in Chainat Province found different with statistical significance at 0.05 level. Ban Tub Tai group showed level of participation at the highest mean and the percentage of farmers’ participation effectiveness in managing large rice field was higher than 80 (2) The factors that influence the effectiveness of participation in the management of large rice field project with statistical significance at 0.05 are good governance factor, personal factor, and leadership factor. (3) Approaches to promoting farmers’ participation in managing of large rice field project in Chainat Province for the committee were categorized into 3 aspects as follows; 1) good governance aspect: the committee should operate based on transparency, allow inspection, and adhere to public benefit principle. 2) personal aspect: the committee should realize the readiness and demands of member in order to organize activities in compliance with the readiness and demand, for example, break, learning activities. 3) leadership aspect: the committee must arrange the meeting to discuss with the members and focus on responding to the demands of members, having the exact goal of work, build reliability to the followers, to be able to stimulate members to voice their opinions, and to brainstorm people for the operating pathwayen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
155134.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.69 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons