กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7386
ชื่อเรื่อง: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมในการบริหารโครงการนาแปลงใหญ่ : กรณีศึกษา กลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่จังหวัดชัยนาท
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Factors affecting the participation in managing of large rice field project : a case study of large rice field farmers group in Chainat Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์
ธนกร กลิ่นนาค, 2522-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ดุสิต เวชกิจ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
โครงการนาแปลงใหญ่--ไทย--ชัยนาท
การทำนา--การมีส่วนร่วมของประชาชน
การบริหารโครงการ--การมีส่วนร่วมของประชาชน
การทำนา--ไทย--ชัยนาท
วันที่เผยแพร่: 2559
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการบริหารโครงการ นาแปลงใหญ่ กลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่จังหวัดชัยนาท (2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อการมีส่วนร่วมของ เกษตรกรในการบริหารโครงการนาแปลงใหญ่ กลุ่มเกษตรกรนาแปลงใหญ่จังหวัดชัยนาท (3) เสนอแนะแนวทาง ในการสร้างการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการบริหารโครงการนาแปลงใหญ่จังหวัดชัยนาท การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ กลุ่มตัวอย่าง คือ ตัวแทนเกษตรกรจากกลุ่มนาแปลงใหญ่ในจังหวัดชัยนาท ทั้งหมด 8 กลุ่ม ได้กลุ่มตัวอย่างจำนวน 278 คน จากประชากรทั้งหมด 903 คน กำหนดขนาดกลุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ คือ การทดสอบ ค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ ผลการวิจัย พบว่า (1) ระดับการมีส่วนร่วมของเกษตรกรในการบริหารโครงการนาแปลงใหญ่จังหวัดชัยนาท แต่ละกลุ่มมีความแตกต่างกัน อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 โดยพบว่ากลุ่มนาแปลงใหญ่ บ้านทับใต้ มีระดับการมีส่วนร่วมมากที่สุด และ ประสิทธิผลของการมีส่วนร่วมทาให้โครงการนาแปลงใหญ่ จังหวัดชัยนาท ประสบผลสำเร็จมากกว่า ร้อยละ 80 (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อประสิทธิผลการมีส่วนร่วมของเกษตรกรนาแปลงใหญ่ อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ ปัจจัยด้านธรรมาภิบาล ปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยภาวะผู้นำ (3) เสนอแนวทางการพัฒนากลุ่มนาแปลงใหญ่จังหวัดชัยนาท ในการบริหารงานของ คณะกรรมการเพื่อให้เกิดการมีส่วนร่วมจากสมาชิก โดยแบ่งออกเป็น 3 ด้าน ดังนี้ 1) ด้านธรรมาภิบาล คณะกรรมการต้องดำเนินงานด้วยความโปร่งใส สมาชิกสามารถตรวจสอบได้ และคำนึงถึงประโยชน์ส่วนร่วม เป็นหลัก 2) ด้านปัจจัยส่วนบุคคล คณะกรรมการต้องทราบถึงความพร้อม ความต้องการ ของสมาชิก เพื่อให้การ จัดกิจกรรมเป็นไปตามความต้องการและความพร้อมของสมาชิกในด้านต่างๆ เช่น เวลาว่างจากงานหลักความต้องการเรียนรู้ในเรื่องต่างๆ 3) ด้านภาวะผู้นำ คณะกรรมการต้องมีการประชุมหารือกับสมาชิก และเน้นการทำงานตอบสนองต่อความต้องการของสมาชิก มีเป้าหมายการทำงานที่ชัดเจน สร้างความเชื่อมั่นให้กับ ผู้ตาม และสามารถกระตุ้นให้สมาชิกได้แสดงความคิดเห็น และรวมความคิดเห็นให้เป็นแนวทางในการ ดำเนินงาน
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7386
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
155134.pdfเอกสารฉบับเต็ม2.69 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons