Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7398
Full metadata record
DC Field | Value | Language |
---|---|---|
dc.contributor.advisor | อุทัยวรรณ จรุงวิภู | th_TH |
dc.contributor.author | จีรนันท์ ดาราสุริยงค์, 2509- | th_TH |
dc.contributor.other | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ | th_TH |
dc.date.accessioned | 2023-07-06T07:07:52Z | - |
dc.date.available | 2023-07-06T07:07:52Z | - |
dc.date.issued | 2546 | - |
dc.identifier.uri | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7398 | en_US |
dc.description.abstract | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษานโยบายการบัญชีเกี่ยวกับวิธีการประมาณ หนี้สงสัยจะสูญและการตัดจำหน่ายหนี้สูญ (2) วิเคราะห์ความคล้ายคลึง หรือความแตกต่างของการ เลือกใช้นโยบายการบัญชีที่เกี่ยวกับวิธีการประมาณหนี้สงสัยจะสูญและการตัดจำหน่ายหนี้สูญ ของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยในหมวดอุตสาหกรรมเดียวกันและต่างหมวดอุตสาหกรรม (3) ศึกษานโยบายการบริหารลูกหนี้ของหมวดอุตสาหกรรมที่มีลูกหนี้มากราย และหมวดอุตสาหกรรมที่มีลูกหนี้น้อยราย กลุ่มตัวอย่างที่ใช้คือ บริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย 86 บริษัท 20 หมวดอุตสาหกรรม เครื่องมือที่ใช้มีรายงานประจำปี สำหรับปี 2545 และแบบสอบถาม แบบปลายเปิด ผลการวิจัยพบว่า (1) วิธีการประมาณหนี้สงสัยจะสูญในหมวดอุตสาหกรรมเดียวกัน และต่างหมวดอุตสาหกรรมมีความคล้ายคลึงกัน ฝ่ายบริหารจะกำหนดให้สอดคล้องกับลักษณะธุรกิจโดยอาศัยประสบการณ์การเก็บหนี้ในอดีต วิธีที่บริษัทเลือกใช้มากที่สุดคือ คำนวณโดยการจัดกลุ่มลูกหนี้ จำแนกตามอายุหนี้ค้างชำระ (2) หลักเกณฑ์การตัดจำหน่ายหนี้สูญของบริษัทในหมวด อุตสาหกรรมเดียวกันและต่างหมวดอุตสาหกรรม มีความคล้ายคลึงกัน คือปฏิบัติตามกฎกระทรวง การคลังฉบับที่ 186 (พ.ศ.2534) ซึ่งมีรายละเอียดคือต้องเป็นหนี้ของบริษัทที่เกิดจากการดำเนินงาน ปกติ ได้ดำเนินการติดตามทวงถาม โดยมีหลักฐานชัดแจ้ง หากมีคดีฟ้องร้องก็จะต้องดำเนินคดีจนถึงที่สุดแล้ว และไม่ได้รับชำระหนี้ (3) นโยบายการบริหารลูกหนี้ของหมวดอุตสาหกรรมที่มีลูกหนี้มากรายและหมวดอุตสาหกรรมที่มีลูกหนี้ห้อยราย ทุกบริษัทกำหนดนโยบายจากประสบการณ์การเก็บหนี้ในอดีตเพื่อลดความเสี่ยงจากการไม่ได้รับชำระหนี้หมวดอุตสาหกรรมที่มีลูกหนี้มากรายจะกำหนดนโยบายการบริหารลูกหนี้ที่ชัดเจน รัดกุม และละเอียดกว่าหมวดอุตสาหกรรม ที่มีลูกหนี้น้อยราย นโยบายการบริหารลูกหนี้ที่บริษัทเลือกใช้มากได้แก่ การให้ลูกหนี้วางหลักทรัพย์คํ้า ประกัน และการสร้างสัมพันธ์ที่ดีกับลูกหนี้ | th_TH |
dc.format | application/pdf | en_US |
dc.language.iso | th | en_US |
dc.publisher | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
dc.rights | Attribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0) | en_US |
dc.rights.uri | https://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/ | en_US |
dc.source | Reformatted digital | en_US |
dc.subject | บริษัทมหาชน--ไทย--การเงิน. | th_TH |
dc.subject | บริษัทมหาชน--ไทย--การบัญชี. | th_TH |
dc.subject | ตลาดหลักทรัพย์--ไทย | th_TH |
dc.subject | การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ | th_TH |
dc.title | การศึกษานโยบายการบัญชีหนี้สงสัยจะสูญและหนี้สูญของบริษัทที่จดทะเบียนในตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทย | th_TH |
dc.title.alternative | Study of accounting policies doubtful debt and bad debt of registed company in the Stock Exchange of Thailand | en_US |
dc.type | Thesis | en_US |
dc.degree.name | บริหารธุรกิจมหาบัณฑิต | en_US |
dc.degree.level | ปริญญาโท | th_TH |
dc.degree.discipline | สาขาวิชาวิทยาการจัดการ | th_TH |
dc.degree.grantor | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช | th_TH |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_82423.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 751.3 kB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License