Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7400
Title: | ความสามารถในการแข่งขันขององค์กร : กรณีศึกษาบริษัท จอห์นสันคอนโทลส์ แอนด์ ซัมมิทอินทีเรียส์ จำกัด |
Other Titles: | Competency of organization : a study of Johnson Controls and Summit Interiors Limited |
Authors: | เชาว์ โรจนแสง นตนา ชาวบางงาม, 2521- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ |
Keywords: | การแข่งขัน การศึกษาอิสระ--บริหารธุรกิจ องค์การ |
Issue Date: | 2550 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณ โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา 1) ปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันทั้งในปัจจุบันและอนาคต 2) แนวคิดของพนักงานที่มีต่อปัจจัยที่ก่อให้เกิด ความสามารถในการแข่งขันของบริษัทจอห์นสัน คอนโทรลส์ แอนด์ ซัมมิท อินทีเรียส์ จำกัด กลุ่มตัวอย่างที่ใช้ในการวิจัยคือ พนักงานบริษัทจอห์นสัน คอนโทรลส์แอนด์ซัมมิท อินทีเรียส์ จำกัด จำนวน 320 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็นแบบสอบถามที่ผู้วิจัยคิดขึ้นเองจากกรอบแนวคิดในการวิจัย ซึ่งประกอบด้วย ส่วนที่ 1 ข้อมูลทั่วไปของผู้ตอบแบบสอบถาม มีลักษณะคำถามที่ใช้เป็นแบบสอบถามหลายตัวเลือก จำนวน 5 ข้อ ส่วนที่ 2 ข้อมูลเกี่ยวกับความคิดเห็นของพนักงานที่มีปัจจัย ที่ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขัน ณ สถานการณ์ ปัจจุบันและความคาดหวังในอนาคต จำนวน 82 ข้อ ส่วนที่ 3 ข้อเสนอแนะเกี่ยวกับปัจจัยที่ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขันตัวอื่นๆ ที่มีผลต่อความสำเร็จของกิจการ มีลักษณะคำถามที่ใช้เป็นแบบสอบถามปลายเปิด สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ ได้แก่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน โดยใช้โปรแกรมสำเร็จรูป SPSS 11.0 ผลการศึกษา เป็นดังนี้ ลักษณะส่วนบุคคลของ พนักงาน บริษัทจอห์นสัน คอนโทรลส์ แอนด์ ซัม มิทอินทีเรียส์ จำกัด กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่เป็นเพศชายมีอายุระหว่าง 25 - 34 ปี การศึกษา อยู่ในระดับ ปริญญาตรี มีตำแหน่งเป็นพนักงานปฏิบัติการ มีอายุงาน 4-6 ปี ระดับความคิดเห็นว่าที่มีต่อปัจจัยที่ ก่อให้เกิดความสามารถในการแข่งขัน พบว่า กลุ่มตัวอย่างมีความเห็นสอดคล้องไปในทิศทางเดียวกัน อย่างชัดเจน ว่า ปัจจัยทุกด้านมีผลต่อความสามารถในการแข่งขันของกิจการ โดยในปัจจุบันมีผลในระดับ ที่มากและในอนาคต ซึ่งปัจจัยที่ส่งผลสูงสุด 5 อันดับแรกของในปัจจุบันและความคาดหวังในอนาคต มี ดังนี้ 1) ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) ด้านการตลาด 3) ด้านการตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า 4) ด้านวัฒนธรรม องค์กร โดยรวม 5) ด้านการเรียนรู้และพัฒนา และความคาดหวังในอนาคต ได้แก่ ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศ 2) ด้านการตลาด 3) ด้านการเรียนรู้และ 4) ด้านการตอบสนองความพึงพอใจของลูกค้า 5) ด้านวัฒนธรรมองค์กร |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7400 |
Appears in Collections: | Manage-Independent study |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
fulltext_102097.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.91 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License