กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7403
ชื่อเรื่อง: การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Inhabitant participation in administration of regional health security fund at Samut Sakhon Province
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ปภาวดี มนตรีวัต
วิลาสินี ว่องทรัพย์เจริญ
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
รังสรรค์ ประเสริฐศรี
คำสำคัญ: ประกันสุขภาพ--ไทย
สวัสดิการด้านการรักษาพยาบาล--ไทย
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาและเปรียบเทียบระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 4 แห่ง ในการดำเนินงานกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ในจังหวัดสมุทรสาคร (2) ศึกษา และเปรียบเทียบปัจจัยสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 4 แห่ง ในการดำเนินงานกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร (3) วิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและ ปัจจัยสนับสนุนกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 4 แห่ง ในการดำเนินงานกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่น ในจังหวัดสมุทรสาคร (4) ศึกษาปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชในพื้นที่ องค์การบริหารส่วนตำบลจำนวน 4 แห่ง ในการดำเนินงานกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาคร(5)ศึกษาแนวทางเสริมสร้างในการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 4 แห่งในการดำเนินงานกองทุนระบบหลักประกันสุขภาพระดับท้องถิ่นในจังหวัดสมุทรสาครกลุ่มตัวอย่างในการวิจัยครั้งนี้คือประชาชน 397 คนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งเป็นพื้นที่นำร่องการดำเนินงานกองทุนฯ จำนวน 4 แห่งในจังหวัดสมุทรสาคร คือ องค์การบริหารส่วนตำบลบางกระเจ้า องค์การบริหารส่วนตำบลบางโทรัด องค์การบริหารส่วนตำบลสวนหลวง และองค์การบริหารส่วนตำบลเจ็ดริ้ว เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์ข้อมูล คือ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าเอฟ การทดสอบค่านัยสำคัญต่ำสุด และการวิเคราะห์ถดถอยพหุคูณ โดยมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ผลการวิจัย พบว่า (1) ในภาพรวม การมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินกองทุนฯ ขององค์การบริหารส่วน ตำบล 4 แห่ง อยู่ในระดับน้อย และเมื่อเปรียบเทียบความแตกต่างระดับการมีส่วนร่วม พบว่า องค์การบริหารส่วนตำบล 4 แห่ง มีระดับการมีส่วนร่วมแตกต่างกัน (2) ปัจจัยสนับสนุนที่ส่งผลต่อการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 4 แห่งในการดำเนินงานกองทุนฯ ได้แก่ ทัศนคติ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร และความรู้ความเข้าใจ ตามลำดับ และเมื่อเปรียบเทียบปัจจัยสนับสนุนการมีส่วนร่วมระหว่างองค์การบริหารส่วนตำบลซึ่งแบ่งเป็น องค์การบริหารส่วนตำบลขนาดกลาง 2 แห่ง และองค์การบริหารส่วนตำบลขนาดใหญ่ 2 แห่ง พบว่ามีปัจจัยสนับสนุนการมีส่วนร่วมของประชาชนในพื้นที่องค์การบริหารส่วนตำบลที่มีขนาดแตกต่าง มีความแตกต่างกัน (3) ผลการวิเคราะห์ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลและปัจจัยสนับสนุนกับการมีส่วนร่วมของประชาชนในองค์การบริหารส่วนตำบล จำนวน 4 แห่งในการดำเนินงานกองทุนฯ พบว่า อายุ การศึกษา รายได้ ความรู้ความเข้าใจ การรับรู้ข้อมูลข่าวสาร มีความสัมพันธ์กับระดับการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนฯ ส่วนอาชีพและทัศนคติไม่มีความสัมพันธ์ (4) ปัญหาและอุปสรรคในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนฯ ได้แก่ ประชาชนไม่มีความรู้เกี่ยวกับกองทุนฯ ไม่ได้เข้ามามีส่วนร่วม หรือมีส่วนร่วมน้อย ผู้เข้าร่วมส่วนใหญ่เป็นผู้นำชุมชุน แพทย์ หัวหน้าสถานีอนามัยนอกจากนั้นยังขาดโอกาสในการเข้ามามีส่วนร่วม เนื่องจากไม่ได้รับการประชาสัมพันธ์อย่างทั่วถึง ไม่มีเวลาเพราะต้องประกอบอาชีพ และการศึกษาน้อย (5) แนวทางเสริมสร้างในการมีส่วนร่วมของประชาชนในการดำเนินงานกองทุนฯ ได้แก่ ประชาชนต้องเข้ามามีส่วนร่วมทุกด้าน หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องให้ข้อมูลที่เป็นประโยชน์ ต้องส่งเสริมและสนับสนุนให้มีการประชาสัมพันธ์ ตั้งศูนย์ชุมชน จัดให้มีหน่วยบริการทางการแพทย์เคลื่อนที่ตามหมู่บ้าน และให้ภาคเอกชนเข้ามามีส่วนร่วม
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารรัฐกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2552
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7403
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
118820.pdfเอกสารฉบับเต็ม7.89 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons