กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7404
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนากลยุทธ์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดตราดประเทศไทย |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | Strategy development of health tourism promotion in Trat Province, Thailand |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | กุญชร เจือตี๋ สุรีรัตน์ โพธิ์ศรี, 2515- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา วรรณา ศิลปอาชา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ การท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ--ไทย--ตราด |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาพฤติกรรมนักท่องเที่ยวที่ใช้บริการเพื่อสุขภาพ 2) เปรียบเทียบความคาดหวัง และความพึงพอใจต่อปัจจัย ส่วนประสมการตลาดบริการ3) ศึกษาสภาพการดำเนินการ ปัญหาและอุปสรรคของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ และ 4) เสนอแนะกลยุทธ์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในจังหวัดตราด การวิจัยนี้เป็นการวิจัยเชิงปริมาณและวิจัยเชิงคุณภาพ กลุ่มตัวอย่าง คือ 1) นักท่องเที่ยวที่มาใช้บริการสปาและนวดเพื่อสุขภาพ จำนวน 400 คน สุ่มตัวอย่างแบบเป็นระบบ เก็บข้อมูลโดยใช้แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ได้แก่ ความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐานการทดสอบค่าที และ 2) ผู้ประกอบการเพื่อสุขภาพ 6 คน และผู้เชี่ยวชาญด้านบริการเพื่อสุขภาพของรัฐ 2 คน เก็บข้อมูลโดยการสัมภาษณ์เชิงลึก และนำมาวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาสและอุปสรรค ผลการวิจัยพบว่า 1) นักท่องเที่ยวส่วนใหญ่เลือกใช้สถานประกอบการเพื่อสุขภาพที่สะอาด เหตุผลการใช้บริการเพื่อบรรเทาอาการปวดเมื่อย นวดหลังไหล่และศีรษะเป็นส่วนใหญ่เคยใช้บริการมาก่อน เดินทางมาคนเดียว ใช้จ่ายน้อยกว่า 500 บาทต่อครั้ง ใช้บริการเดือนละ 1-2 ครั้ง รู้ข่าวจากคนรู้จักนิยมใช้เดย์สปา ตกแต่งแบบธรรมชาติ ตั้งอยู่ใกล้ตัวเมือง 2) นักท่องเที่ยวมีความพึงพอใจมากกว่าความคาดหวัง ในทุกด้านของปัจจัยส่วนประสมการตลาดบริการ 3) ธุรกิจเพื่อสุขภาพ เปิดบริการเป็นจำนวนมากและมีการแข่งขันสูง ขาดแคลนนักบำบัดและหมอนวด การส่งเสริมการตลาดมีน้อย ขาดการประสานงานระหว่างหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในการบังคับใช้กฎหมายใหม่ 4) ข้อเสนอแนะกลยุทธ์การส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพ ดังนี้ สร้างตราสินค้าให้โดดเด่นและจดจำง่าย ใช้ระบบพาณิชย์อิเล็กทรอนิกส์เข้า ถึงกลุ่มเป้าหมาย ตั้งราคาให้มีหลายราคาเพิ่มการโฆษณาผ่านอินเทอร์เน็ตและใช้พนักงานแนะนำโดยตรง ออกแบบกระบวนการชัดเจนและตกแต่งสอดคล้องกับวัฒนธรรมไทยและดูแลความสะอาดอยู่เสมอ ส่งเสริมพนักงานให้มีจิตสำนึกในการบริการจัดการฝึกอบรม และสร้างขวัญกำลังใจ |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7404 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Manage-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
155145.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 3.4 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License