กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7408
ชื่อเรื่อง: กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ใหม่เสื้อผ้าเด็ก "Cadeau"
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Strategy to create a new brand children's wear "Cadeau"
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร
อรณิชชา เสาเวียง, 2518-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--การศึกษาเฉพาะกรณี
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ--การศึกษาเฉพาะกรณี
การสร้างชื่อตราผลิตภัณฑ์
เสื้อผ้าเด็ก
วันที่เผยแพร่: 2552
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การศึกษาในครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาความสำคัญ แนวคิด วิธีการ และการใช้เครื่องมือทางการตลาดในการสร้างแบรนด์สินค้าใหม่ (2) ศึกษาสภาพแวดล้อมการแข่งขันทางการตลาด (3) ศึกษากลยุทธ์ของกาโดที่ใช้ใน การสร้างแบรนด์ การศึกษาครั้งนี้ทำการศึกษาในเชิงพรรณา โดยศึกษาผลิตภัณฑ์สินค้าแบรนด์ "กาโด" ของ บริษัท ธนูลักษณ์ จำกัด (มหาชน) ด้วยการรวบรวมข้อมูลทุติยภูมิจากรายงานประจำปีของบริษัทธนูลักษณ์ จำกัด (มหาชน) และจากเอกสาร ตำรา บทความ สิ่งพิมพ์ที่เกี่ยวข้องกับแนวคิดและทฤษฎีต่าง ๆ เพื่อนำมาใช้ในการศึกษา ผลการศึกษาพบว่า (1) การตลาดในยุคปัจจุบันหันมาให้ความสนใจเกี่ยวกับการสร้างแบรนด์มากขึ้นกว่าเดิม แบรนด์คือ ตัวแทนผลิตภัณฑ์ ที่ใช้สื่อสารกับผู้บริโภค ธุรกิจจึงใช้กลยุทธ์การสร้างแบรนด์ไหม่เพื่อกระตุ้นการรับรู้ของผู้บริโภค การพัฒนาและสร้างแบรนค์ไหม่ให้ธุรกิจจึงมีส่วนสำคัญในการสร้างความแตกต่างและความได้เปรียบทางการแข่งขัน แต่การจะทำให้แบรนด์หรือสินค้านั้นเป็นที่ยอมรับจากผู้บริโภคได้นั้น เป็นเรื่องที่ทำได้ค่อนข้างยาก (2) ตลาดสินค้าอุปโภคผู้บริโภคมีอำนาจในการต่อรองสูง เนื่องจากมีแบรนด์ให้เลือกมาก และเศรษฐกิจในปัจจุบันทำให้ลูกค้าระมัดระวังในการใช้จ่ายเงิน ธุรกิจจึงแข่งขันกันคด้านผลิตภัณฑ์และการบริการ ด้วยการใช้ความก้าวหน้าทางด้านเทคโนโลยี ทำให้เกิดความเปลี่ยนแปลงในการพัฒนาผลิตภัณฑ์และนวัตกรรมใหม่ ๆ (3) ผู้ผลิตและสร้างแบรนด์ "กาโด" ได้ดำเนินกลยุทธ์ทางการสร้างแบรนด์ใหม่ ขององค์กรโดยยึดแนวทางในการสร้างแบรนด์ 4 ขั้นตอนคือ 1) การกำหนดตำแหน่งของแบรนด์ 2) การกำหนดบุคลิกภาพของแบรนด์ 3) การสร้างเอกลักษณ์ของแบรนค์ และ 4) การสื่อสารเพื่อสร้างแบรนค์ การพัฒนาและนำกลยุทธ์มาใช้ทำให้เกิดแนวทางในการปฏิบัติที่เหมาะสม เกิดการประหยัดจากการเรียนรู้ ส่งผลให้ต้นทุนเฉลี่ยในการผลิตสินค้าลดลง ทำให้ผลิตภัณฑ์ "กาโด" มีโอกาสในการทำการตลาดและพัฒนาช่องทางการขายใหม่ ๆ
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7408
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Independent study

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
Fulltext_130415.pdf5.18 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons