Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7426
Full metadata record
DC FieldValueLanguage
dc.contributor.advisorฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.advisorเสาวภา มีถาวรกลุ, อาจารย์ที่ปรึกษาth_TH
dc.contributor.authorฐิติมา บูรณวงศ์, 2530--
dc.contributor.otherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษาth_TH
dc.date.accessioned2023-07-06T08:44:47Z-
dc.date.available2023-07-06T08:44:47Z-
dc.date.issued2559-
dc.identifier.urihttps://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7426-
dc.description.abstractงานวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) ภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช (2) พฤติกรรมการท่องเที่ยวของนักท่องเที่ยวที่เดินทางมาเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช และ (3) ความสัมพันธ์ ระหว่างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราชกับพฤติกรรมการท่องเที่ยว การวิจัยครั้งนี้เป็นวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ใช้ศึกษา คือ นักท่องเที่ยวชาวไทยที่เดินทางมา ท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช จำนวน 1,846,841 คน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้สูตรของทาโร่ ยามาเน่ ได้จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มแบบสองขั้นตอน โดยการสุ่มแบบชั้นภูมิ จากการจำแนก ตามลักษณะของทรัพยากรการท่องเที่ยว และสุ่มแบบเชิงระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บรวบรวมข้อมูลคือ แบบสอบถาม สถิติที่ใช้วิเคราะห์ข้อมูลได้แก่สถิติเชิงพรรณนา เพื่อหาค่าความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน และสถิติเชิงอนุมานเพื่อหาความสัมพันธ์ของตัวแปร 2 ตัว โดยใช้สถิติทดสอบ ความสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) ภาพลักษณ์ของการท่องเที่ยวจังหวัดนครศรีธรรมราช พบว่านักท่องเที่ยว มีระดับภาพลักษณ์เรียงลำดับจากมากมาน้อยได้แก่ด้านชื่อเสียงด้านสิ่งดึงดูด ด้านสังคม ด้านประสบการณ์ ด้านการเรียนรู้ ด้านการพักผ่อน ผ่อนคลาย ด้านความน่าตื่นเต้น การผจญภัย และด้านราคาและสภาพแวดล้อม สำหรับด้านรายข้อให้ค่าเฉลี่ยสูงสุด คือ แหล่งธรรมชาติที่สวยงาม (2) พฤติกรรมนักท่องเที่ยวชาวไทย พบว่า ส่วนใหญ่มีวัตถุประสงค์์ ในการมาท่องเที่ยวเพื่อพักผ่อน เดินทางมากับครอบครัว มีจำนวนสมาชิกที่ร่วมเดินทาง 3-4 คน พาหนะที่ใช้คือ รถยนต็ส่วนตัว ช่วงเดือนที่นักท่องเที่ยวนิยมมาท่องเที่ยวมากที่สุด คือ เดือนเมษายนถึง มิถุนายน เดินทางมาท่องเที่ยว 1-5 วัน รูปแบบการท่องเที่ยวแบบนอนค้างคืน ค่าใช้จ่ายโดยเฉลี่ยต่อวัน ในการท่องเที่ยว 1,000 – 2,000 บาทต่อคน สถานที่ท่องเที่ยวที่นิยมเที่ยวมากที่สุด คือ แหล่งท่องเที่ยวที่เกิดขึ้นเอง ตามธรรมชาติ เลือกซื้อสินค้าหรือของฝากเป็น ขนม/ของกิน และส่วนใหญ่ได้รับข้อมูลในการท่องเที่ยว จากคำบอกเล่าจากญาติ/เพื่อน/คนรู้จัก และ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างภาพลักษณ์การท่องเที่ยวจังหวัด นครศรีธรรมราช กับพฤติกรรมการท่องเที่ยว พบว่า ภาพรวมของภาพลักษณ์การท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์ กับ พฤติกรรมการท่องเที่ยวด้านการเลือกพาหนะที่ใช้ในการเดินทาง รถตู้สาธารณะ รถเช่า รถไฟ รถมอเตอร์ไซด์ ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 และเครื่องบิน ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.05 โดยมีความสัมพันธ์กันใน ทิศทางเดียวกัน ส่วนภาพรวมของภาพลักษณ์การท่องเที่ยวมีความสัมพันธ์กับพฤติกรรมการท่องเที่ยวด้านช่วง เดือนที่นิยมมาท่องเที่ยว และด้านสถานที่ท่องเที่ยวที่นิยม ที่ระดับนัยสำคัญทางสถิติที่ 0.01 โดยมีความสัมพันธ์ กัน ในทิศทางเดียวกันth_TH
dc.formatapplication/pdfen_US
dc.language.isothth_TH
dc.publisherมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.relation.urihttps://www.doi.org/10.14457/STOU.the.2016.6en_US
dc.rightsมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.rightsAttribution-NonCommercial-NoDerivatives 4.0 International (CC BY-NC-ND 4.0)en_US
dc.rights.urihttps://creativecommons.org/licenses/by-nc-nd/4.0/en_US
dc.sourceBorn digitalen_US
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์th_TH
dc.subjectการท่องเที่ยว -- ไทย -- นครศรีธรรมราชth_TH
dc.subjectนักท่องเที่ยว -- ไทย. -- ทัศนคติth_TH
dc.subjectไทย -- ภูมิประเทศและการท่องเที่ยวth_TH
dc.titleภาพลักษณ์การท่องเที่ยวของจังหวัดนครศรีธรรมราชในมุมมองของนักท่องเที่ยวชาวไทยth_TH
dc.title.alternativeTourism image of Nakhon Si Thammarat Province from the perspective of Thai Touriststh_TH
dc.typeThesisth_TH
dc.degree.nameบริหารธุรกิจมหาบัณฑิตth_TH
dc.degree.levelปริญญาโทth_TH
dc.degree.disciplineสาขาวิชาวิทยาการจัดการth_TH
dc.degree.grantorมหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราชth_TH
dc.description.abstractalternativeThe objectives of this research were to study (1) the tourism image of Nakhon Si Thammarat Province, (2) travel behavior of tourists who traveled in Nakhon Si Thammarat Province, and (3) the relationship between the tourism image of Nakhon Si Thammarat Province and travel behavior. This research was survey research. The population was Thai tourists who visited Nakhon Si Thammarat Province, 1,846,841 tourists. The sample size was determined for 400 by using Taro Yamane’s formula. The two step sampling methods with stratified method by travel resource characteristics and systematic method were applied. The data collection instrument was a questionnaire. Statistics for data analysis were descriptive statistics with frequency, percentage, mean and standard deviation as well as inferential statistics with the two variables relationship testing ; Pearson correlation coefficient test. The research results indicated that: (1) For the tourism image of Nakhon Si Thammarat province from the perspective of Thai tourists, the tourism image from high to low levels consecutively were reputation, attraction, society, experience, learning, rest and relaxation, excitement and adventure, and price and environment factor. The highest factor was beautiful natural resource. (2) For travel behavior of Thai tourists, most tourists visited Nakhon Si Thammarat province for their relaxation. The tourists traveled with their family (with 3-4 members) and by cars. The period when tourists chose to travel was during April-June with 1-5 day duration. The average cost was 1,000-2,000 Baht per person. The most favorite place was natural tourism place. They bought snack / food for their souvenir. Mostly they received travel information from their family members, friends and relatives. (3) For the relationship between the tourism image of Nakhon Si Thammarat Province and travel behaviors, the tourism image was related with travel behaviors in the factors of transportation: travelling by public van, rental car, train and motorcycle at the statistical significance level of 0.01 and travelling by airplane at the statistical significance level of 0.05 in the positive direction. Overall, the tourism image was related with travel behaviors in the factor of the favorite period of travel and the favorite place for travel at the statistical significance level of 0.01 in the positive directionen_US
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
155170.pdfเอกสารฉบับเต็ม1.64 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons