Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7429
Title: รูปแบบกลยุทธ์การตลาดบริการสุขภาพการแพทย์ทางเลือกโดยการฝังเข็มของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย
Other Titles: Services marketing strategy model for healthcare on alternative medicine by acupuncture of private hospitals in Thailand
Authors: เชาว์ โรจนแสง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภมาส อังศุโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุดาพร สาวม่วง, อาจารย์ที่ปรึกษา
ชานานันท์ ประดิษฐบาทุกา, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
อุตสาหกรรมบริการ -- การตลาด
การฝังเข็ม
การแพทย์ทางเลือก -- ไทย
การตลาด
Issue Date: 2559
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้ มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยด้านสังคมวัฒนธรรม ปัจจัยด้านจิตวิทยา กลยุทธ์ การตลาดบริการสุขภาพ และผลการดำเนินงานการแพทย์ทางเลือกโดยการฝังเข็มของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศ ไทย (2) วิเคราะห์อิทธิพลทางตรงและทางอ้อมของปัจจัยด้านสังคมวัฒนธรรม ปัจจัยด้านจิตวิทยา กลยุทธ์การตลาด บริการสุขภาพต่อผลการดำเนินงานการแพทย์ทางเลือกโดยการฝังเข็มของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย และ (3) ค้นหารูปแบบกลยุทธ์การตลาดบริการสุขภาพต่อผลการดำเนินงานการแพทย์ทางเลือกโดยการฝังเข็มของ โรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย ประชากร คือผู้ใช้บริการฝังเข็มในโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย และกลุ่มตัวอย่างคือ ผู้ใช้บริการ ฝังเข็ม จำนวน 446 คน เก็บตัวอย่างแบบหลายขั้นตอน เครื่องมือการวิจัยเป็นแบบสอบถามโดยการทดสอบความตรง เชิงเนื้อหาใช้ความสอดคล้องข้อคำถามกับวัตถุประสงค์ และความเที่ยงโดยใช้สัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาค การวิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติโดยใช้การวิเคราะห์เส้นทางและโมเดลสมการโครงสร้าง ผลการวิจัย (1) ปัจจัยด้านสังคมวัฒนธรรมของผู้ใช้บริการการแพทย์ทางเลือกโดยการฝังเข็มของ โรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย ส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง อายุ 20-40 ปี การศึกษาระดับปริญญาตรี อาชีพทำงาน บริษัทเอกชน รายได้ต่อเดือน 10,001 – 50,000 บาท สถานะทางสังคมปานกลาง สถานะทางสุขภาพไม่มีโรค ประจำตัว สาเหตุของการมาใช้บริการเพื่อรักษาอาการป่วย ร้อยละ 59.19 ในรอบ 1 ปี เคยใช้บริการแพทย์ทางเลือกอื่น นอกเหนือการฝังเข็ม ร้อยละ 20.18 ค่าใช้จ่ายบริการต่อครั้ง 301-800 บาท ปัจจัยด้านจิตวิทยา กลยุทธ์การตลาด บริการสุขภาพ และผลการดำเนินงานการแพทย์ทางเลือกโดยการฝังเข็มค่าเฉลี่ยสูงสุด ตามลำดับ คือ ด้านความเชื่อ ด้านบุคลากร และด้านการใช้บริการ (2) กลยุทธ์การตลาดบริการสุขภาพมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงาน การแพทย์ทางเลือกโดยการฝังเข็มมากที่สุด รองลงมา คือ ปัจจัยด้านจิตวิทยา มีอิทธิทั้งทางตรงและทางอ้อมต่อผล การดำเนินงานการแพทย์ทางเลือกโดยการฝังเข็ม ส่วนปัจจัยด้านสังคมวัฒนธรรม มีอิทธิทางตรงต่อผลการ ดำเนินงานการแพทย์ทางเลือกโดยการฝังเข็มของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย น้อยมาก ส่วนผลการ ดำเนินงานการแพทย์ทางเลือกโดยการฝังเข็มที่มีความสำคัญมากที่สุด คือ ความพึงพอใจ รองลงมาคือ ความ ปลอดภัย การใช้บริการ และคุณภาพชีวิต (3) รูปแบบกลยุทธ์การตลาดบริการสุขภาพต่อผลการดำเนินงานการแพทย์ ทางเลือกโดยการฝังเข็มของโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทย ประกอบด้วยปัจจัยด้านจิตวิทยา โดยเรียงลำดับ ความสำคัญจากมากไปน้อย ได้แก่ ความเชื่อ ทัศนคติ และการรับรู้ และประกอบด้วยกลยุทธ์การตลาดบริการ สุขภาพ โดยเรียงลำดับความสำคัญ ได้แก่ ผลิตภาพและคุณภาพ บุคลากร สิ่งแวดล้อมทางกายภาพ ช่องทางจัด จำหน่าย กระบวนการ ราคา ผลิตภัณฑ์บริการ และการส่งเสริมการตลาด
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7429
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
155410.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.31 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons