Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7430
Title: การพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
Other Titles: Organization development toward high performance organization of Rajabhat Universities in Northeastern Region
Authors: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
ดุสิต เวชกิจ, อาจารย์ที่ปรึกษา
วาสนา เลิศมะเลา, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ -- การบริหาร
การพัฒนาองค์การ -- การจัดการ
Issue Date: 2560
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำเร็จของการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างกันในการ พัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) ศึกษาปัจจัยต่างๆ ที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเขตพื้นที่ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ 4) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ อาจารย์และเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเขตพื้นที่ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ จำนวน 11 แห่ง จำนวน 8,339 คน กลุ่มตัวอย่าง 382 คน คำนวณด้วยสูตร ทาโร่ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณ ส่วนแบบสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเขตพื้นที่ภาค ตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 80 (2) ระดับความสำเร็จในการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความแตกต่างกัน (3) ปัจจัยด้านการจัดการภาครัฐ แนวใหม่ และปัจจัยด้านทรัพยากรบุคคล มีอิทธิพลต่อการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยด้านสมรรถนะ การพัฒนามรรถนะการบริหาร ทรัพยากรมนุษย์ การจัดการเชิงกลยุทธ์ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ สามารถอธิบายความสัมพันธ์ ของตัวแปรได้ ร้อยละ 90.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ข้อเสนอแนะการวิจัย คือ ส่งเสริม ให้บุคลากรเข้าใจสมรรถนะหลัก และสมรรถนะในงาน สร้างขวัญ และกำลังใจในการทำงาน เปิดโอกาส ให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธ์ศาสตร์ ประชาสัมพันธ์เป้าหมายองค์การให้บุคลากรได้รับทราบ และหาแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานที่ขาดความต่อเนื่อง
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7430
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
156017.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.63 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons