กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7430
ชื่อเรื่อง: การพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Organization development toward high performance organization of Rajabhat Universities in Northeastern Region
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์
วาสนา เลิศมะเลา, 2524-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
ดุสิต เวชกิจ
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ--วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยราชภัฏเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ--การบริหาร
การพัฒนาองค์การ--การจัดการ
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) ศึกษาระดับความสำเร็จของการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 2) ศึกษาเปรียบเทียบความแตกต่างกันในการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 3) ศึกษาปัจจัยต่างๆที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จในการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 4) เสนอแนะแนวทางการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ การวิจัยนี้ เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษา คือ อาจารย์และเจ้าหน้าที่ มหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่ภาคตะวนั ออกเฉียงเหนือ จำนวน 11 แห่ง จำนวน 8,339 คน กลุ่มตัวอย่าง 382 คน คำนวณด้วยสูตรทาโร่ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ คือ แบบสอบถาม และแบบสัมภาษณ์ การวิเคราะห์ข้อมูลเชิงปริมาณใช้สถิติค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุคูณส่วนแบบสัมภาษณ์ใช้การวิเคราะห์เนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า 1) การพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ อยู่ในระดับสูงกว่าร้อยละ 80 (2) ระดับความสำเร็จในการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศ ของมหาวิทยาลัยราชภัฏ ในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มีความแตกต่างกัน (3) ปัจจัยด้านการจัดการภาครัฐแนวใหม่ และปัจจัยด้านทรัพยากรบุคคล มีอิทธิพลต่อการพัฒนาองค์การสู่ความเป็นเลิศของมหาวิทยาลัยราชภัฏในเขตพื้นที่ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 5 ตัวแปร ได้แก่ ปัจจัยด้านสมรรถนะ การพัฒนามรรถนะการบริหารทรัพยากรมนุษย์ การจัดการเชิงกลยุทธ์ การทำงานเป็นทีม และภาวะผู้นำเชิงกลยุทธ์ สามารถอธิบายความสัมพันธ์ของตัวแปรได้ ร้อยละ 90.80 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ข้อเสนอแนะการวิจัย คือ ส่งเสริมให้บุคลากรเข้าใจสมรรถนะหลัก และสมรรถนะในงาน สร้างขวัญ และกำลังใจในการทำงาน เปิดโอกาสให้บุคลากรได้มีส่วนร่วมในการจัดทำแผนยุทธ์ศาสตร์ ประชาสัมพันธ์เป้าหมายองค์การให้บุคลากรได้รับทราบและหาแนวทางแก้ไขปัญหาการบริหารงานที่ขาดความต่อเนื่อง
รายละเอียด: วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2560
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7430
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
156017.pdfเอกสารฉบับเต็ม3.63 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons