Please use this identifier to cite or link to this item:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7432
Title: | กลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดที่มีผลต่อการเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนของผู้ป่วยใน ในจังหวัดสมุทรปราการ |
Other Titles: | Marketing mix strategies affecting to choosing private hospital inpatient in Samut Prakan Province |
Authors: | ฉัตรชัย ลอยฤทธิวุฒิไกร ปัญจพล เหล่าทา, 2520- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา สาวภา มีถาวรกลุ |
Keywords: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ--วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการตลาด--วิทยานิพนธ์ โรงพยาบาลเอกชน--ความพอใจของผู้ใช้บริการ.--ไทย--สมุทรปราการ โรงพยาบาลเอกชน--การตลาด การจัดการตลาด--การตัดสินใจ |
Issue Date: | 2559 |
Publisher: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
Abstract: | การวิจัยครั้งนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษา (1) กลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดที่มีต่อการเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชน ในจังหวัดสมุทรปราการ (2) เหตุผลของการเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนของผู้ป่วยในในจังหวัดสมุทรปราการ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลกับเหตุผลการเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนของผู้ป่วยใน ในจังหวัดสมุทรปราการ และ (4) ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดกับเหตุผลการเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนของผู้ป่วยในจังหวัดสมุทรปราการ กาววิจัยครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรคือ ประชากรชาวไทยที่มาเข้ารับบริการประเภทผู้ป่วยในของโรงพยาบาลเอกชน ในจังหวัดสมุทรปราการ ที่ไม่ทราบจำนวนผู้ป่วยที่แน่นอน กำหนดขนาดตัวอย่างโดยใช้ความเชื่อมั่นร้อยละ 95 จำนวน 400 คน ใช้วิธีการสุ่มตัวอย่างแบบสองขั้นตอน เครื่องมือที่ใช้คือแบบสอบถาม วิเคราะห์ข้อมูลโดยใช้สถิติเชิงพรรณนา ได้แก่ ค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ย และค่าส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติเชิงอนุมาน ได้แก่ การทดสอบค่าไคสแควร์ และค่าสัมประสิทธิ์สหสัมพันธ์เพียร์สัน ผลการวิจัยพบว่า (1) กลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดที่มีต่อการเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนของผู้ป่วยใน ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ลำดับค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือ ด้านนผลิตภัณฑ์ บริการ และลำดับน้อยที่สุด คือ ด้านการส่งเสริมการตลาด (2) เหตุผลการเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนของผู้ป่วยใน ในภาพรวมอยู่ในระดับมากที่สุด เมื่อพิจารณาเป็นรายด้าน ลำดับค่าเฉลี่ยมากที่สุด คือความรู้สึกมั่นใจว่าอาการเจ็บป่วยที่จะได้รับการรักษาให้หาย หรือทุเลาลงจากการเข้ารับบริการจากแพทย์และพยาบาล ลำดับน้อยที่สุด คือ มีความรวดเร็วในการให้การบริการ (3) ความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลับเหตุผลการเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนของผู้ป่วยใน จากการวิเคราะห์ข้อมูล พบว่า ปัจจัยส่วนบุคคลด้าน ระดับการศึกษา รายได้เฉลี่ยต่อเดือน และสิทธิในการรักษาพยาบาล มีความสัมพันธ์กับเหตุผลการเลือกใช้บริการอย่างมีนัยสำคัญ ทางสถิติที่ระดับ 0.05 (4) ความสัมพันธ์ระหว่างกลยุทธ์ส่วนประสมการตลาดกับ เหตุผลการเลือกใช้บริการโรงพยาบาลเอกชนของผู้ป่วยใน มีความสัมพันธ์ในทิศทางเดียวกัน โดยพบว่า ด้านผลิตภัณฑ์บุคลากร/ผู้ให้บริการ และด้านกระบวนการให้บริการ มีความสัมพันธ์ในระดับมาก ด้านความคุ้มค่าของราคาลักษณะทางกายภาพ และด้านสถานที่มีความสัมพันธ์ในระดับปานกลาง ด้านการส่งเสริมการตลาดมีความสัมพันธ์อยู่ในระดับน้อยที่สุด |
Description: | วิทยานิพนธ์ (บธ.ม. (บริหารธุรกิจ))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559 |
URI: | https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7432 |
Appears in Collections: | Manage-Theses |
Files in This Item:
File | Description | Size | Format | |
---|---|---|---|---|
156028.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 1.31 MB | Adobe PDF | View/Open |
This item is licensed under a Creative Commons License