กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้:
https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/744
ชื่อเรื่อง: | การพัฒนาระบบปฏิบัติการทำให้ปราศจากเชื้อโดยประยุกต์ใช้แนวคิดลีน โรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช |
ชื่อเรื่องอื่นๆ: | The development of the operating sterilization system based on lean concepts at Sichon Hospital, Nakhon Si Thammarat Province |
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: | เปรมฤทัย น้อยหมื่นไวย, อาจารย์ที่ปรึกษา อารี ชีวเกษมสุข, อาจารย์ที่ปรึกษา ราตรี นาคกลัด, 2514- มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา |
คำสำคัญ: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาการบริหารการพยาบาล --วิทยานิพนธ์ มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาพยาบาลศาสตร์ --วิทยานิพนธ์ การควบคุมการติดเชื้อ โรงพยาบาลสิชล--ไทย--นครศรีธรรมราช |
วันที่เผยแพร่: | 2559 |
สำนักพิมพ์: | มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช |
บทคัดย่อ: | การศึกษานี้เป็นการวิจัยและพัฒนา มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) พัฒนาระบบปฏิบัติการทำให้ปราศจากเชื้อโดยประยุกต์ใช้แนวคิดลีนในหน่วยจ่ายกลางโรงพยาบาลสิชล จังหวัดนครศรีธรรมราช และ 2) ศึกษาผลของระบบปฏิบัติการทำให้ปราศจากเชื้อโดยใช้แนวคิดลีนที่พัฒนาขึ้นต่อเวลาที่ใช้ใน ระบบปฏิบัติการทำให้ปราศจากเชื้อ จำนวนชุดอุปกรณ์ที่ไม่มีคุณภาพ ความพึงพอใจในงานของ พนักงานจ่ายกลาง และความพึงพอใจต่อการรับบริการหน่วยจ่ายกลางของพยาบาลวิชาชีพ กลุ่มตัวอย่าง ประกอบด้วย 1) ชุดทําแผลจำนวน 1,677 ชุด 2) พนักงานจ่ายกลาง โรงพยาบาลสิชลที่มีอายุงานตั้งแต่ 1 ปี ขึ้นไป ที่ได้รับการคัดเลือกแบบเจาะจง จำนวน 7 คน และ 3) พยาบาลวิชาชีพในโรงพยาบาลสิชล จำนวน 35 คน ที่ได้รับการสุ่มอย่างมีระบบ เครื่องมือที่ใช้ในการเก็บ รวบ รวมข้อมูล ได้แก่ แบบบันทึกเวลา แบบบันทึกจำนวนชุดอุปกรณ์ที่ไม่มีคุณภาพ แบบสอบถามความพึงพอใจในงาน และแบบสอบถามความพึงพอใจต่อการรับบริการ ซึ่งแบบสอบถามดังกล่าวได้รับการตรวจความตรงตามเนื้อหาโดยผู้ทรงคุณวุฒิ 5 ท่าน ได้ค่าดัชนีความตรงเชิงเนื้อหาเท่ากับ 0.90 และ 1 ตามลำดับ และได้ค่าสัมประสิทธิ์แอลฟาของครอนบาชเท่ากับ 0.95 ทั้งสองฉบับ วิเคราะห์ข้อมูลด้วยการแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ส่วนเบี่ยงเบนมาตรฐาน สถิติที (dependent t-test) ไคว์สแควร์ และ Wilcoxon Signed Ranks test ผลการวิจัย พบว่า 1) ระบบปฏิบัติดารทำให้ปราศจากเชื้อได้รับการพัฒนาขึ้นจาก 17 ขั้นตอน เป็น 16 ขั้นตอน 2) ระยะเวลาที่ใช้ในระบบปฏิบัติการหลังการใช้ระบบที่พัฒนาขึ้นต่ำกว่าก่อนใช้อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ .001 (p <.05) และ 4) พยาบาลวิชาชีพมีค่าเฉลี่ยความพึงพอใจต่อการรับบริการหน่วยจ่ายกลางอยู่ในระดับสูง |
รายละเอียด: | วิทยานิพนธ์ (พย.ม. (การบริหารการพยาบาล))--มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช, 2559. |
URI: | http://ir.stou.ac.th/handle/123456789/744 |
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล: | Nurse-Theses |
แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม | รายละเอียด | ขนาด | รูปแบบ | |
---|---|---|---|---|
fulltext 155167.pdf | เอกสารฉบับเต็ม | 5.13 MB | Adobe PDF | ดู/เปิด |
รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License