กรุณาใช้ตัวระบุนี้เพื่ออ้างอิงหรือเชื่อมต่อรายการนี้: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7470
ชื่อเรื่อง: รูปแบบเชิงสาเหตุการทำงานร่วมกันระหว่างผู้ประกอบการขนส่งทางรถบรรทุกกับผู้ประกอบการส่งออกทางเรือในประเทศไทย
ชื่อเรื่องอื่นๆ: Causal model of collaboration between trucking companies and export shipping companies in Thailand
ผู้แต่ง/ผู้ร่วมงาน: เชาว์ โรจนแสง, อาจารย์ที่ปรึกษา
สุภมาส อังศุโชติ, อาจารย์ที่ปรึกษา
เรืองศักดิ์ แก้วธรรมชัย, อาจารย์ที่ปรึกษา
วชิราภรณ์ จันทร์โพธนุกุล, 2509-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
คำสำคัญ: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารธุรกิจ -- วิทยานิพนธ์
การขนส่งสินค้า -- การจัดการ
การขนส่งทางน้ำ
การขนส่งด้วยรถบรรทุก
วันที่เผยแพร่: 2560
สำนักพิมพ์: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
บทคัดย่อ: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาปัจจัยของการทำงานร่วมกัน ความไว้วางใจ ความผูกพัน ความยั่งยืน และผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการขนส่งทางรถบรรทุกกับผู้ประกอบการส่งออกทางเรือในประเทศไทย (2) วิเคราะห์องค์ประกอบของการทำงานร่วมกัน ความไว้วางใจ ความผูกพัน ความยั่งยืน และผลการดำเนินงานของ ผู้ประกอบการขนส่งทางรถบรรทุกกับผู้ประกอบการส่งออกทางเรือในประเทศไทย (3) วิเคราะห์อิทธิพลองค์ประกอบของ การทำงานร่วมกัน ความไว้วางใจ ความผูกพัน ความยั่งยืนที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการขนส่งทาง รถบรรทุกกับผู้ประกอบการส่งออกทางเรือในประเทศไทย และ (4) นำเสนอรูปแบบเชิงสาเหตุของการทำงานร่วมกัน ที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของกิจการระหว่างผู้ประกอบการขนส่งทางรถบรรทุกกับผู้ประกอบการส่งออกทางเรือใน ประเทศไทย วิธีวิจัยใช้แบบผสานวิธี โดยการวิจัยเชิงปริมาณเก็บข้อมูลด้วยแบบสอบถามจากกลุ่มตัวอย่าง ผู้ประกอบการขนส่งทางรถบรรทุกจากท่าเรือกรุงเทพ ท่าเรือแหลมฉบังและท่าเรือสงขลา 149 รายและผู้ประกอบการ ส่งออกสินค้าอุตสาหกรรมทางเรือจากกระทรวงพาณิชย์ 165 ราย วิเคราะห์ข้อมูลด้วยสถิติเชิงพรรณนาและการวิเคราะห์ สมการโครงสร้าง ส่วนการวิจัยเชิงคุณภาพใช้การสัมภาษณ์เชิงลึกจากผู้ให้ข้อมูลสำคัญ 9 ราย แล้วนำมาวิเคราะห์เชิงเนื้อหา ผลการวิจัยพบว่า (1) ผู้ประกอบการขนส่งทางรถบรรทุกและผู้ประกอบการส่งออกทางเรือในประเทศไทย มีความไว้วางใจ ความผูกพัน ความยั่งยืน และผลการดำเนินงานอยู่ในระดับมาก ส่วนการทำงานร่วมกันอยู่ในระดับ ปานกลาง (2) องค์ประกอบของการทำงานร่วมกัน ความไว้วางใจ ความผูกพัน ความยั่งยืนและผลการดำเนินงาน ของผู้ประกอบการขนส่งทางรถบรรทุกและผู้ประกอบการส่งออกทางเรือในประเทศไทยมีรูปแบบเหมือนกันแต่มีค่า น้ำหนักองค์ประกอบในการวัดไม่เท่ากัน (3) รูปแบบเชิงสาเหตุที่พัฒนาขึ้นมีความสอดคล้องกับข้อมูลเชิงประจักษ์ โดยผลการดำเนินงานของทั้งผู้ประกอบการขนส่งทางรถบรรทุกและผู้ประกอบการส่งออกทางเรือได้รับอิทธิพลรวม จากการทำงานร่วมกันมากที่สุด ซึ่งส่วนใหญ่มาจากอิทธิพลทางอ้อมผ่านความไว้วางใจ ความผูกพันและความยั่งยืน โดยความไว้วางใจมีอิทธิพลทางตรงต่อผลการดำเนินงาน แต่ความผูกพันไม่มีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงาน อนึ่งกลุ่ม ผู้ประกอบการส่งออกทางเรือมีการทำงานร่วมกันและความไว้วางใจมีอิทธิพลต่อผลการดำเนินงานมากกว่ากลุ่ม ผู้ประกอบการขนส่งทางรถบรรทุก และ (4) รูปแบบเชิงสาเหตุของการทำงานร่วมกันที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงาน ของผู้ประกอบการขนส่งทางรถบรรทุก คือ ต้องมีความไว้วางใจและสร้างความสัมพันธ์ระยะยาวกับผู้ประกอบการส่งออก ทางเรือ ส่วนรูปแบบเชิงสาเหตุของการทำงานร่วมกันที่ส่งผลต่อผลการดำเนินงานของผู้ประกอบการส่งออกคือสร้าง ความสัมพันธ์ระยะยาวและการดำเนินงานด้านโลจิสติกส์สีเขียวกับผู้ประกอบการขนส่งทางรถบรรทุก
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7470
ปรากฏในกลุ่มข้อมูล:Manage-Theses

แฟ้มในรายการข้อมูลนี้:
แฟ้ม รายละเอียด ขนาดรูปแบบ 
159488.pdfเอกสารฉบับเต็ม4.13 MBAdobe PDFดู/เปิด


รายการนี้ได้รับอนุญาตภายใต้ Creative Commons License Creative Commons