Please use this identifier to cite or link to this item: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7474
Title: ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำนโยบาย “5 ก้าวย่างแห่งการเปลี่ยนแปลงราชทัณฑ์” ไปปฎิบัติ : ศึกษาเฉพาะกรณีเรือนจำและทัณฑสถานเขต 10 กรมราชทัณฑ์
Other Titles: Factors influencing successful implementation of "5 steps in changing the Thai corrections" policy : a case study of prisons and correctional region 10 department of corrections
Authors: เทพศักดิ์ บุณยรัตพันธุ์, อาจารย์ที่ปรึกษา
พนมพัทธ์ สมิตานนท์, อาจารย์ที่ปรึกษา
เอก ศิริโชคธรรมกุล, 2523-
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สำนักบัณฑิตศึกษา
Keywords: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. สาขาวิชาวิทยาการจัดการ -- วิทยานิพนธ์
มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช. แขนงวิชาบริหารรัฐกิจ -- วิทยานิพนธ์
การบริหารงานราชทัณฑ์ -- ไทย -- กรุงเทพฯ
Issue Date: 2561
Publisher: มหาวิทยาลัยสุโขทัยธรรมาธิราช
Abstract: การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อ (1) ศึกษาระดับความสำเร็จของการนำนโยบาย “5 ก้าวย่างแห่งการ เปลี่ยนแปลงราชทัณฑ์” ไปปฏิบัติในเรือนจำและทัณฑสถานเขต 10 กรมราชทัณฑ์ (2) ศึกษาปัจจัยที่มีอิทธิพล ต่อความสำเร็จของการนำนโยบาย “5 ก้าวย่างแห่งการเปลี่ยนแปลงราชทัณฑ์” ไปปฏิบัติ และ (3) เสนอแนะกล ยุทธ์ในการนำนโยบาย “5 ก้าวย่างแห่งการเปลี่ยนแปลงราชทัณฑ์” ไปปฏิบัติให้บรรลุผลสำเร็จ การศึกษาครั้งนี้เป็นการวิจัยเชิงสำรวจ ประชากรที่ศึกษาในครั้งนี้คือเรือนจำ และทัณฑสถาน เขต 10 จำนวน 10 แห่ง โดยมีข้าราชการจำนวน 1,880 คน เป็นตัวแทนของเรือนจำและทัณฑสถาน เขต 10 ใช้กลุ่ม ตัวอย่างจำนวน 330 คน ที่ได้จากวิธีการสุ่มตัวอย่างตามสูตรของทาโร ยามาเน่ เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัยเป็น แบบสอบถามและแบบสัมภาษณ์ สถิติที่ใช้ในการวิเคราะห์เชิงปริมาณ ได้แก่ การแจกแจงความถี่ ร้อยละ ค่าเฉลี่ย ค่าเบี่ยงเบนมาตรฐาน การทดสอบค่าที การวิเคราะห์ความแปรปรวนทางเดียว และการวิเคราะห์การถดถอยเชิงพหุ แบบขั้นตอน ส่วนการวิเคราะห์เชิงคุณภาพ ใช้เทคนิคการวิเคราะห์ปัจจัยภายในและภายนอกองค์กร เพื่อวิเคราะห์จุดแข็ง จุดอ่อน โอกาส ปัญหาอุปสรรค และเสนอแนะกลยุทธ์โดยใช้ตารางวิเคราะห์กลยุทธ ผลการวิจัย พบว่า (1) ความสำเร็จของการนำนโยบาย “5 ก้าวย่างแห่งการเปลี่ยนแปลงราชทัณฑ์” ไปปฏิบัติในเรือนจำและทัณฑสถานเขต 10 กรมราชทัณฑ์ ในภาพรวมอยู่ในระดับมาก โดยมีความสำเร็จคิดเป็น ร้อยละ 81.2 (2) ปัจจัยที่มีอิทธิพลต่อความสำเร็จของการนำนโยบาย “5 ก้าวย่างแห่งการเปลี่ยนแปลงราชทัณฑ์” ไปปฏิบัติอย่างมีนัยสำคัญทางสถิติที่ระดับ 0.05 ได้แก่ แรงจูงใจ ค่านิยมและวัฒนธรรมองค์การ ปัจจัยการนำ นโยบายไปปฏิบัติ และหลักธรรมาภิบาล (3) กลยุทธ์ในการนำนโยบาย 5 ก้าวย่างฯ ไปปฏิบัติสู่ความสำเร็จ ได้แก่ สร้างความเชื่อมั่น และภาพลักษณ์ที่ดี พัฒนาสิ่งจำเป็นพื้นฐาน สร้างมาตรฐานการบริหารงาน ลดความแออัด ปลูกฝังคุณธรรมจริยธรรม พัฒนาขีดความสามารถ ผสานความร่วมมือจากภายนอก ปรับเปลี่ยนทัศนคติ สร้างขวัญ และเพิ่มสวัสดิการ ส่งเสริมความร่วมมือสามัคคี เผยแพร่กิจกรรมราชทัณฑ์ ประชาสัมพันธ์และรับฟัง ความคิดเห็น พัฒนานวัตกรรมและองค์ความรู้ แก้ไขปรับปรุงกฎหมาย ใช้ทรัพยากรให้คุ้มค่า ปรับปรุงทัศนียภาพ และปรับตัวตามสถานการณ์
URI: https://ir.stou.ac.th/handle/123456789/7474
Appears in Collections:Manage-Theses

Files in This Item:
File Description SizeFormat 
160688.pdfเอกสารฉบับเต็ม5.04 MBAdobe PDFView/Open


This item is licensed under a Creative Commons License Creative Commons